หน้าเว็บ

www.mi-favorita.blogspot.com

www.mi-favorita.blogspot.com

12.12.2555

เริ่มต้นฟังเพลง Classical อย่างไรดี ?

เริ่มต้นฟังเพลง Classical อย่างไรดี ?  สำหรับตัวผมแล้ว เริ่มต้นด้วยการฟัง โดยเฉพาะหา CD พวก The best of ของคีตกวี แต่ละท่านมาฟังก่อน เพลงพวกนี้ส่วนใหญ่เราเคยได้ยินติดหูมาบ้างแล้ว ตาม ริงโทน , เพลงรอสายตามบริษัทต่างๆ เพลงป็อบที่ยืมทำนองมาทำใหม่ 

The best of

ศึกษา.....ตรงนี้เป็นหัวใจของเพลงคลาสิคเลย ต้องศึกษาประวัติของคีตกวีที่เราสนใจอยู่ รวมถึง ยุคของดนตรี หรือชนิดของดนตรี เช่น Sonata , Sonatina  หรือประวัติเพลงนั้นๆ ก็ช่วยได้มาก

ถ้ามีความรู้ด้านดนตรีที่ลึกลงไปอีก ก็มาวิเคราะห์ โน็ต หรือ โครงสร้างทางดนตรี รวมถึงทดลองเล่นเพลงนั้นๆ วิธีนี้ได้ผลมากสำหรับผมเลยครับ พบว่า ถ้าผมสามารถเล่นเพลงไหนได้ เพลงนั้นจะมีความน่าสนใจหรือ ไพเราะห์สำหรับขึ้นมาทันทีเลย

ถ้าทำทุกวิธิทางแล้ว  หมายถึงเพลงคลาสิคที่คนทั่วโลกส่วนใหญ่ ยอมรับหรือยกย่องว่าไพเราะห์นะครับให้เก็บเพลงนั้นเอาไว้ก่อน เราอาจจะทักษะการฟังไม่ถึง หาเพลงอื่นๆฟังไปเรื่อยๆ ใช้เวลาอีกระยะใหญ่ๆค่อยกลับมาฟังซ้ำ ถ้ายังไม่ชอบอีก แสดงว่า เราไม่ชอบวิธีการประพันธ์ของคีตกวีคนนั้น หรือ ถ้ายังไม่ยอมแพ้ ในเพลงเดียวกันหา ศิลปิน อื่นมาช่วยถ่ายทอด เพราะศิลปินแต่ละคน ตีความบทเพลง รวมถึงประสพการณ์ไม่เหมือนกัน และอาจหมายถึง การถ่ายทอดด้วยเครื่องดนตรีต่างชนิดกันเพื่อให้ถูกจริตเราที่สุด

นอกจากเรื่องทักษะการฟังที่ต้องพัฒนาไปเรื่อยๆแล้ว ถ้ามีทุนทรัพย์ก็หาเครื่องเสียงดีๆมาเป็นตัวช่วยด้วย เครื่องเสียงดีๆนอกจากถ่ายทอดสิ่งที่นักดนตรีเล่นและรายละเอียดต่างๆยังทำให้บทเพลงนั้นไพเราะห์มากขึ้นไปด้วย

สุดท้าย หากลุ่มเพื่อนหรือผู้รู้ หรือ คนที่ชอบสิ่งเดียวกัน ไว้สนทนา ...ของให้มีความสุขกับเสียงเพลงครับ

12.02.2555

The Merry Angel Opus 8


The Merry Angel
ปกด้านหน้าของ The Merry Angel Opus 8
CD ชุดนี้ผมว่า เจ๋งตั้งแต่ออกแบบ ปกเลยก็ว่าได้  อย่าทำเป็นเล่นไปนะครับการออกแบบปกสำคัญ พอๆกับฝีมือนักดนตรีด้านในเลยนะ  ผมซื้อ CD มาฟังหลายชุดแล้วจากภาพหรือเรื่องราวบนปกนี้เหละ  สำหรับปกนี้ เป็นภาพจิตรกรรมฝาผนัง ที่เขียนโดยครูคงแป๊ะ ( หลวงเสนีย์บริรักษ์ )จากฝาผนังตอนมโหสถชาดก เป็นภาพจิตรกรรมในสมัยรัชการที่3   ที่วัดสุวรรณราม กรุงเทพมหานคร

รูปปกด้านบนเป็นรูปแขกขาว น่าจะเป็นที่มาจากเพลงแรกที่ชื่อ พันธุ์ฝรั่ง ( Caucasin ) ดูแล้วสวยคลาสสิคมากๆเลย   ส่วนผลงานชุดนี้เป็นชุดที่ 8 (  Opus 8 )
The Merry Angel


การบันทึกเสียง เป็นการบันทึกสดไม่มี ตัดต่อแต่อย่างใด  ( Live to Two-Track ) เพื่อให้ได้ความสด ลิ้มรสอารมณ์ของนักดนตรี ณ.บัดนั้น   ตามนิยม Audiophile  ผมไม่ค่อยมีความรู้ด้านดนตรีไทยนัก ฟังแล้วจะจัดอยู่ในกลุ่ม Thai Classical ,  World Music ดี  ( จะว่าไทยเดิมไทยๆคงไม่ใช่ บรรเลงด้นสด หรือจะเป็น Jazz ดี ;D )

The Merry Angel Opus 8

ในปกได้เขียนคำนำโดยคุณสมเกียรติ ศิริวนิชสุนทร อดีต บ.ก. ของนิตยสาร สเตอริโอ ดังนั้นการันตีได้ว่า อัลบัมชุดนี้ พิถีพิถัน ทั้งเรื่องคุณภาพนักดนตรี,เสียง และอุปกรณ์ในระดับAudiophile แน่นอน

สำหรับนักดนตรี วงปี่พาทย์ อัษฎางค์ มีดังนี้
  • พันธกานต์ แสงอ่อน ( ระนาดเอก )    
  • วิบูลย์ธรรม เพียรพงษ์ ( ระนาดทุ้ม )      
  • วิศรุต ภู่นาค ( ปี่ในชวา )
  • วิชัย สมพงษ์ ( ฆ้องวงใหญ่ )       
  • อัษฏางค์ เดชรอด ( กลองแขกตัวผู้, โทน , กลองยาว , กลองสแนร์ )             
  • สิทธิพงษ์ ทั่งสุวรรณ ( กลองแขกตัวเมีย , โม่ง , ฉาบ )           
  • ชัยอนันต์ เดชรอด ( ฉิ่ง,กรับ )             
  • โอฬาร เปลื้องสี ( กลองเบส,ตะโพน )               
  • ศักดิภัท สุขมุข ( ฉิ่ง ) ชนุดิศ เกตุชรา ( ร้อง )

11.11.2555

Thailand International Guitar festival & Competition 2012

ปีนี้ เริ่มงานตั้งแต่ 8-11 Nov 2012  ที่ Bangkok Art & Culture Center ชั้น 5 ครับ หลังจากผมห่างเนื่องจากติดงานประจำไม่ได้ไปชมอยู่หลายๆปี ปีนี้ก็เช่นเดียวกัน ติดงานแต่บังเอิญ ลูกน้องขอ ยกเลิกการนัดหมายกับลูกค้า และครอบครัวไม่มาตามนัด จึงได้คิวมาดูตั้งแต่ วันที่9-11 เลย 

thiland International Guitar festival & Competition 2012
Ekaterina Pushkarenko
 ภาพด้านบน คือ การแสดงชุดสุดท้ายของ Thailand International Guitar festival 2012 เป็น คอนเสิตร์ตของ Ekaterina Pushkarenko ชาวรัสเซีย แต่ผมขอนำภาพขึ้นเป็นภาพแรกเพราะชอบเป็นการส่วนตัวครับ 

ผู้ชนะการแข่งขัน ระดับ International 2012
ภาพด้านบนเป็นผู้ชนะการแข่งขัน ระดับ International ประจำปี 2012 ถ้าจำไม่ผิดมาจากเยอร์มันครับรางวัลที่ได้รับเป็นกีต้าร์จาก Kim Hee Hong ( Alma Guitar )  เป็นรางวัล mี่สองก็ได้ Case ใส่กีต้าร์ของ Karura

ผู้ชนะการแข่งขันในระดับ Local
ด้านบนผู้ชนะการแข่งขันในระดับ Local ไม่จำกัดอายุ ที่หนึ่งได้รางวัลเป็นกีต้าร์ของช่างทำกีต้าร์ระดับแนวหน้าของเมืองไทย ช่าง ณรงค์ศักดิ์ วิเศษนัฐ ไปครอง

Thailand International Guitar festival
Simon Cheong จาก มาเลเซีย
รูปทั้งหมดถ่ายในวันที่ 11 Nov นะครับ ( เนื่องจากวันอื่นๆชมอย่างเดียว ลืมถ่ายเก็บไว้ ) ปีหน้าถ้าผมได้ไปอีกก็จะเก็บรูปมาฝากใหม่นะครับ

11.05.2555

Guitar Favourite- Hucky Eichelmann

็Hucky Eichelmann

ฮักกี้ ไอเคิลทานน์ (  Hucky Eichelmann ) ออกอัมบัมชุดนี้ ใช้เวลาอัดเพียง 2 วันเท่านั้นคือ 18-19 เมษายน 2012 เนื่องจากเพลงส่วนใหญ่อยู่ในมืออยู่แล้ว ใช้เวลาอัดจริง บางเพลง Take เดียวผ่านซะด้วยซ้ำ ( หมายถึง ฮักกี้ นะ  ) 

 อัลบัมชุดนี้ใช้ชื่อ Guitar Favourite น่าจะหมายถึง เพลงที่ผู้เล่นชอบ ( และมีความสุขกับมัน ) ผมชอบชื่อประมาณนี้นะครับ จึงได้ใช้ชื่อ Blog ที่เขียนนี้ว่า Mi-Favorita ซึ่งเน้นความชอบส่วนตัวเป็นหลัก  ในอัลบัมนี้ส่วนใหญ่เป็นเพลงนิยมสำหรับผู้เล่นClassical ต้องรู้จักเพลงพวกนี้อยู่แล้ว เช่น Romance d'Amour ซึ่งแทบจะเป็น ตัวแทนเพลง สำหรับกีต้าร์คลาสสิค เลยทีเดียว ส่วนเพลง Larima ของ F.Tarrega ก็เป็นเพลงบังคับ สำหรับผู้เรียน กีต้าร์คลาสสิคเช่นกัน นอกจากนั้น ยังมีเพลงของ บาค เช่น Prelude from the Cello Suite No1 ( BWV 1007 ) , Bouree ( BWV 996 ) , Menuet ( BWV 114 ), Jesu Joy of Man's Desiring ( BWV 147 ) ส่วนใหญ่คุ้นๆอยู่แล้ว   ส่วนเพลงที่ผมไม่เคยได้ยินก็มีเหมือนกันครับ เช่น Meditation ซึ่งเป็นเพลงที่ ฮักกี้แต่งเอง

ฮักกี้ ไอเคิลทานน์
 
สำหรับอุปกรณ์ ที่สำคัญเช่น กีต้าร์ใช้ของ Gerhard Schnabl 1992 รุ่น Hucky Elchelmann  สายกีต้าร์ลูกผสมระหว่าง Hannabach กับ Augustine  ไมค์ใช้ของ Manley Reference Gold , Schoeps MK 21, Neumann U87
หลังจากชุดนี้ ผมคิดว่า ฮักกี้คงออกอัลบัม Guitar Favourite 2, 3 ตามลำดับ ค่อยดูว่าเมื่อไรเท่านั้น

10.21.2555

Bridget Classical Guiter Guide DVD

dvd สอนเล่น คลาสสิคกีต้าร์
รูปปก DVD  Classical Guiter Guide
ขอแนะนำ DVD สอนการเล่น คลาสสิคกีต้าร์ ของ Bridgrt Mermikides เนื่องจากเพิ่งวางตลาด เผื่อใครสนใจยังพอหาซื้อได้ที่ร้าน Asia Book ราคา 395 บาท       

Bridgrt Mermikides ที่ผมได้ติดตามเนื่องจากเธอ เขียนบทความใน นิตยาสาร Guitar Techinques ในคอลัมน์ PALY:CLASSICAL  

เริ่มแรกเลยนิตยาสาร Guitarist ฉบับภาษาไทย ได้นำบทความของเธอมาลงบ้างในช่วงแรกๆ เสียดายช่วงหลังได้ตัดไปคงเพราะเหตุผลทางการตลาด ( นักกีต้าร์ไทยที่เล่น Classic มีประมาณ 1 % ของทั้งหมดแค่นั้นเอง )     ส่วนใหญ่บทเพลงที่นำมาลงในคอลัมน์เป็นเพลงที่เล่นง่ายๆ คงเป็นเหตุผลทางการตลาดเหมือนกัน แต่เพลงที่เล่นง่ายๆ ไม่จำเป็นต้องเป็นเพลงที่ไม่เพราะใช่ไหมครับ ?   

ส่วนจุดขายของเขา ซึ่งอย่างน้อยก็ขายผมได้ คือ นำเพลง คลาสสิค จากคีตกวีหลากหลาย ที่มีความไพเราะห์ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นเพลงที่แต่ง สำหรับกีต้าร์คลาสสิค ตรงนี้ทำให้เรารู้จักเพลงมากขึ้น อีกอย่างโน็ตเพลงกีต้าร์คลาสสิคส่วนใหญ่ ถ้าหาจริงๆก็หามาเล่นได้อยู่แล้ว ตรงนี้เป็นการตลาดที่ขายได้ครับ

DVD Guide to Classical guitar
คู่มือที่มาเป็นชุด

มาถึง DVD สอนชุดนี้ในความยาวประมาณ 1 ชั่วโมง เขาแบ่งโครงสร้าง Intro & Tuning , Basic , Exerises , Pieces   ตรงนี้ไม่ทราบเป็นเจตนา สอนBasic สำหรับผู้เริ่มต้นเล่น หรือ เป็นชุดแรกที่พยายามปูฟื้นฐานหรือเปล่า แต่ผมพบว่า เหมาะสำหรับผู้เริ่มเล่นจริงๆและมีเนื้อหาไม่ค่อยละเอียด ในชุดจะมีคู่มีอมาด้วยแต่ ผมเปิดด้านใน มี Amp ไฟฟ้าของ Vax และปกหลังเป็นAmp ของ Blackstar เป็นผู้สนับสนุน ตรงนี้ถ้าทางผู้จัดทำละเอียดหน่อยน่าจะหา กลุ่มผู้สนับสนุนที่เกี่ยวข้องกับClassic Guitar จะดีมากเลย  โดยรวมถ้าไม่คิดอะไรมากถือว่าซื้อโน็ตเพลงมาฝึกก็คุ้มครับ มีเพลงพร้อมโน็ตและแท็ป สำหรับคนอ่านโน็ตไม่ได้   5 เพลง คือ 
  1. Romanaz - Tranditional 
  2. La Forza del Destino - Verdi
  3. Jusu Joy Man's Desiring - Bach
  4. Adelita- Tarrega  
  5. Lullaby- Brahms 
เพลง Romanza และ Adelita ถือเป็นเพลงเกือบจะบังคับสำหรับ นักเรียนกีต้าร์คลาสสิคอยู่แล้ว ส่วนเพลง  La Forza del Destino และ Lullaby ตรงนี้ผมคิดว่าเป็นจุดขายนะ น่าเสียดาย แต่ถามว่าเพลงทั้งหมดเพราะไหม ตอบว่าเพราะครับ

10.04.2555

GUITAR SOLO- Ekachai Jearakul

Ekachai Jearakul
 Guitar Solo -Ekachai Jearakul
ผมได้ อัลบัม Guitar Solo ของ Ekachai Jearakul ในงาน Guitar festival ไหนสักที่จำไม่ได้

ปกด้านในลงประวัติ ของศิลปินไว้ผมเลยนำมาเลยเพื่อเผยแพร่

เอกชัย เจียรกุล เกิดเมื่อ 5 กรกฎาคม 2530 ที่จังหวัดอุบลราชธานี เริ่มสนใจกีต้าร์คลาสิคจริงจังเมื่ออายุ 13 ปี โดยเริ่มเรียนที่โรงเรียนดนตรียามาฮ่าอุบลราชธานี มีอาจาร์ยเกียรติพงศ์ แตงสกุล เป็นครูกีต้าร์คนแรก

ใน พ.ศ 2546 เอกชัยได้รับเลือกศึกษาต่อทางด้านดนตรีที่วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ม.มหิดล และได้ศึกษากีต้าร์คลาสสิคจาก อาจาร์ย วรกานต์ แสงสมบูรณ์ , อาจาร์ย นลิน โกเมนตระการ  , อาจาร์ย สุวิช กลิ่นสมิทธิ์ และ อาจาร์ยอีกหลายท่าน

เอกชัยประสพความสำเร็จในการประกวดดนตรีทั้งในระดับชาติและนานาชาติหลายรายการ ด้านการแสดงดนตรี เอกชัยมีโอกาสได้ร่วมบรรเลงกีต้าร์คลาสสิค ในบทเพลง Guitar Concertoร่วมกับศิลปินต่างชาติและวง Dr.Sax Chamber Orchestra ซึ่งเป็นวงดนตรีเยาวชนไทย ในโครงการวิจัยพรสวรรค์ศึกษา อำนวยโครงการโดย รศ.ดร.สุกรี เจริญสุข

เอกชัย เจียรกุล
ปกหลัง GUITAR SOLO- Ekachai Jearakul

ในอัลบัมชุดนี้ บรรจุทั้งหมด 11 เพลง คือ

1  Grand Jota /   F.Tarrega
2  Un Sueno En la Floresta  / Agustin Barrios 

3 - 5  Sonata Op.61 / Joaquin Turina  
3   Allego   
4   Andante
5   Allegro Vivo
6   Lament for the Death of His Second Wife ( Scottish Air ) Arranged by David Russell / Niel Gow
7   Russian Song  /  Sergey Rudnev
8   Kase No Oka  /   Ennio Morricone
9   Love Theme From the Cinema Paradiso Arranged by  Ekachai Jearakul
10 ลาวสวยรวย ( Lao Suay Ruay ) ม.ล ด่วนศรี วรวรรณ ( M.L Tuansri Worawan )

11-13  Concerto in D major Antonio Vivaldi  -  Guest Artists : Dr.Sax Chamber Orchestra Conducted by : Capt. Prateep Suphanrojn , MA BA LRSM
11  Allegro Giusto
12  Largo
13  Allegro

อัลบัมชุดนี้    ปกออกแนวโทนฟ้าขาว ให้สีรู้สึกนุ่มนวล ส่วนภาพประกอบใช้ตัวศิลปินเองโดยถ่ายร่วมกับกีต้าร์ Alma ( ของ Kim Hee Hong ) ซึ่งเป็นกีต้าร์ที่ใช้อยู่ประจำ ณ.เวลานั้น     มีเพลงที่ เอกชัยเรียบเรียงเอง 1 เพลง คือ Love Theme From the Cinema Paradisoและ ได้พยายามใส่ความเป็นไทยไป 1 เพลงคือ เพลง ลาวสวยรวย

ผมมองปกอยู่หลายครั้งโทนอารมณ์คิดถึงศิลปินเกาหลีหรือว่า K-POP      วันนี้นำปกมาดูรายระเอียดพบว่า ทั้งคนออกแบบปกและถ่ายภาพก็เป็นคนไทย แต่พบ Track 1,2,6,7,10 ได้บันทึกเสียงที่เกาหลีใต้  เลยคิดว่าบางทีความรู้สึกหรือภาพที่เห็นหรือเสียงที่ได้ยิน ถ้าเราฝึกบ่อยๆ ฝึกใช้ความรู้สึกบางทีความแม่นยำ ก็อาจจะเกิดขึ้นได้เหมือนทักษะด้านอื่นๆนะครับ 

10.01.2555

Jazz มีกี่ประเภทนะ ?

Jazz มีกี่ประเภทนะ ?  นั้นเป็นคำถามของผมเมื่อ สิบกว่าปีที่แล้ว สมัยยังไม่มีInternet และเล่นกีต้าร์ยังไม่เป็น แต่มีความสนใจและชอบดนตรีเป็นอย่างมากโดยเฉพาะ Jazz Guitar  นั้นจึงเป็นที่มาตำราเล่มแรกของผม ที่ชื่อ Classic Jazz Guitar Syles  เล่มนี้ผมซื้อที่โรบินสันหาดใหญ่ จำได้ว่าอยู่ชั้น 2 เป็นสถาบันสอนดนตรีและขาย ตำราต่างๆด้วย ปัจจุบันได้ย้ายไปเรียบร้อยแล้วครับ

jazz guitar
ปกหนังสือด้านหน้า
โดยในหนังสือ ผมพลิกดูคร่าวๆ คิดว่าตอบโจทย์ผม ในขณะนั้นที่สุดเลยจ่ายเงินไป 900 บาท ( จำได้เพราะป้ายราคายังติดอยู่ )
Jazz Guitar
ด้านหลังยังมีราคาติดอยู่

หนังสือก็แบ่งเป็นบทๆ แต่ละบทก็ แบ่งประเภท ดังนี้
  • Early Jazz / Swing Era
  • Gypsy Jazz
  • Be-bob
  • Hard Bob 
  • Soul Jazz
  • Cool Jazz
  • Latin Jazz
ในความเป็นจริง Jazz  ยังมีการแบ่งประเภทแยกย่อย มากกว่านี้เยอะครับ เพียงแต่ หนังสือเล่มนี้เป็น ปฐมบท หรือเรียกว่า จุดเริ่มต้นของผม จริงๆ  เอาไว้มีโอกาสผมจะลองนำ Jazz ในรูปแบบอื่นๆมาทำเป็น List ดูครับ จะได้ทราบว่าจริงๆมีกี่ประเภทกันแน่ ?

9.28.2555

Greg Smallman คือ คนที่ทำกีต้าร์ที่ดีที่สุด ?

Greg Smallman and John Williams
Greg Smallman and John Williams
ผมพบ Greg Smallman ครั้งแรกใน วีดีทัศน์ของ John Williams THE SEVILLE CONCERT  ตอนซื้อมายังไม่ได้เล่น Classic ซะด้วยซ้ำ ดูแล้วผ่านเลยไป แต่สะดุด ตรง จอห์น วิลเลียมส์ แนะนำช่างทำกีต้าร์คนหนึ่ง ดูบุคลิกแปลกแยกจากคนภายนอก มีบ้านและ workshopอยู่ในป่าทราบมาว่า Smallman ทำกีต้าร์อยู่ที่ประมาณ 6 ตัวต่อปีเท่านั้น ผู้ครอบครองในเมือง เท่าที่ทราบน่าจะมีแค่ คุณนพดล ธรรมวัฒนะ

ภายหลังได้มาศึกษาดู พบว่านักกีต้าร์คลาสสิค ส่วนใหญ่ให้  John Williams ( จอห์น วิลเลียมส์ ) เป็นเบอร์หนึ่งหรือแถวหน้าของ นักกีต้าร์คลาสสิคระดับโลก เลยกลับมาให้ความสนใจว่าเขาใช้กีต้าร์ของใครอยู่    ก็พบว่า ใช้ Greg Smallmanอยู่ ซึ่งผมพออนุมาน เขาพยามยามใช้กีต้าร์ที่ดีที่สุดที่ระดับโลกจะหาได้ ดังนั้น ถ้าใช้หลักการและเหตุผลพูดได้หรือไม่ว่า Greg Smallman คือ คนที่ทำกีต้าร์ที่ดีที่สุด ในโลก ในยุคปัจจุบัน ( หรือ อีกเหตุผลส่วนหนึ่งอาจเพราะความเป็นชาตินิยมก็เป็นได้ เพราะ ทั้ง John Williamsและ Smallman เป็นคนออสเตรียเหมือนกัน แต่ไม่เก่งจริง จอห์น วิลเลียมส์ คงไม่เรียกใช้แน่ครับ )

 Smallman Label
Smallman GUITAR
Smallman Rosette

9.15.2555

Guitar Marker--> Schneider

Guitar Maker
Richard  Schneider
ชไนเดอร์ ( Schneider ) หรือชื่อ เต็มๆคือ Richard Lawrence Schneider เกิดเมื่อ วันที่ 5 มีนาคม 1936 เขาศึกษาการทำกีต้าร์ครั้งแรกใน เม็กซิโก ซิตี้  ระหว่างที่เขาทำงานในฐานะ วิศวกรที่ General Motors ใน ดีทรอยต์ รัฐมิชิแกน ประเทศ อเมริกา   เขาเริ่มสายอาชีพการทำกีต้าร์ในแบบ Traditional classical guitars ตั้งแต่ปี 1967  เขาทำงานร่วมกับ นัก acoustical theorist ชื่อ Professor Michael Kasha  จนในที่สุดได้พัฒนา และออกแบบ soundboard จนเป็นเอกลักษณ์ ( Kasha soundboard )  

soundboard ที่เป็นเอกลักษณ์ ของ Schneider

 ในหลายๆปีถัดมา Schneider ได้แนะนำนวัตกรรม ของเขาประกอบด้วย vibrating softwood backs, braced similar to the soundboard และ ตำแหน่งใหม่ของ soundhole    รูปแบบนี้ถัดมา ได้รับความสนใจจากทั้ง นักทำกีต้าร์และ นักกีต้าร์ทั่วโลก 

 Richard  Schneider ปัจจุบันเขาได้ลาโลกไปแล้ว ทิ้งไว้แต่ นวัตกรรม ที่เป็นเอกลักษณ์ 
 

บทสัมภาษณ์ Lauro ( 10 ) จบ


Lauro  guitar
Antonio Lauro
Luis Zea : สุดท้ายแล้วครับ Maestro  ผมอยากทราบว่า ความเชื่อหรือ ปรัชญาใดที่ผมอิทธิพลต่อเพลงของคุณ และ ซึ่งอาจมีความเข้าใจในการฟังเพลงของคุณ

Antonio  Lauro :  ไม่ เลยครับ, ไม่มีคำกำจัดความ หลายๆครั้งผมพูดกับคนอื่นมีความคิดเกี่ยวกับเพลงของผมซึ่งผมไม่เคยจิตนาการถึง เลย และ ผมคิดว่ามันอาจจะถูก( แบบที่คนอื่นพูด ) ; แต่ การแทรกซึมของภาพเข้าไปในงานชิ้นหนึ่งจะต้องเกิดในจิตใต้สำนึกเพราะผมมีความคิดของมันโดยเฉพาะในแง่ ของดนตรีของ pure music นี้ทำให้เกิด contrastที่ดีกับเพลง  สร้างอารมณ์ความรู้สึกและเป็นที่พอใจ  หรือ ผมชอบคอร์ดนี้ ผมก็ใช้มัน 

 โดยเฉพาะในแง่ของการทำงานดนตรี ในเพลงของผมไม่ได้มีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยอย่างนั้นจริงๆ 
ผมพบว่ามันยากมากที่จะเขียนบทกวีไพเราะเหล่านั้นซึ่งทำให้เกิดจิตวิญญาณ ถ้าผมทำอะไรเช่นนั้นจะเป็นการอวดรู้และน่าขัน 
ก็เป็นการเขียน ถึงการสัมภาษณ์ Lauro เป็นตอนสุดท้ายแล้วนะครับ อ่านดีๆก็คงได้ทราบวิธีคิด ตัวตนของ Lauro  ไปบ้างไม่มากก็น้อยครับ

บทสัมภาษณ์ Lauro ( 9 )

Luis Zea :คุณ ช่วยพูด เกี่ยวกับ อัตราจังหวะ 3/4 และ 6/8 ซึ่งเกิดขึ้นบ่อยมากในเพลงของคุณ ?


Guitar Lauro
Antonio Lauro
Antonio  Lauro :  นั้น เป็นเพลง ตามแบบ Venezuelan music , โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ส่วนใหญ่แล้วเป็นเพลง vales และ joropo    ในเพลงแบบนี้ส่วนใหญ่จังหวะจะเป็น 3/4 และ 6/8 ซึ่งเกิดขึ้นในเพลงกลุ่ม ลาตินอเมริกา และสเปนจำนวนมาก  บางครั้งคุณเห็นมือขวาของนักเปียโน เล่นในจังหวะ 6/8 และมือซ้ายเล่นในจังหวะ 3/4 หรือในทางกลับกันนี่เป็นหนึ่งในหลายชนิดของเพลงซึ่ง บรรจุจังหวะทับซ้อน ของ 3/4 และ 6/8

Note Joropo คือ รูปแบบเพลงเต้นชนิดหนึ่งที่เกิดในเวเนซูเอลา



Luis Zea :และมีการ เปลี่ยนจากอัตรา 3/4 ในบาร์ที่หนึ่งไปสู่ อัตรา3/2 ในบาร์ที่สอง ซึ่งเกิดขึ้นมากในเพลงของคุณ ?

Antonio  Lauro : อีกครั้ง , บางอย่างเป็น Venezuelan มากๆ ไม่ใช่จากผม

บางครั้งผมถามตัวเองว่า ทำไมไม่เขียนอัตรากำหนดความเร็วมันลงไปขณะที่เขียน score โดยผม   ซึ่งจะทำให้ชัดเจนกับนักแสดง

เพราะ ว่าอัตรา 3/2 นี่ไง , เหมือนที่ผมบอกคุณก่อนหน้านี่ การใช้ dynamic marking , expression marking และเครื่องหมายบ่งชี้อื่นๆ บางครั้งมันไม่จำเป็น 

นักดนตรีที่ดี เขาจะพบปัญหาเพื่อศึกษา, วิเคราะห์ และเข้าใจมัน  นักดนตรีที่กำลังบรรเลงใน จังหวะ 3/4 ทันทีที่มองห็น 3/2 ทันทีนั้นมีแนวโน้มจะบรรเลงช้าลง มันเป็นปัญหาฟื้นฐานของ notation.

บทสัมภาษณ์ Lauro ( 8 )


Luis Zea : คุณพอใจกับงานของคุณหรือเปล่า ?

Antonio  Lauro : ผมมีความสุขทุกอย่างที่ผมทำ ครั้งหนึ่งผมเคยถามใน Class ที่ Castres ,  ผมถามนักเรียนของผม ว่ารูปแบบดนตรีที่เขาชอบ คือ polytonal หรือ tonal traditional และคำตอบพวกเขาสนับสนุนผมอย่างมากเพราะว่า เขาชอบทั้งสอง Stlyes 
จริงๆแล้วมันส่งเสริมบางอย่างเมื่อมีคนพูดกับคุณว่า เขาชอบสิ่งที่คุณ เขียน ( ประพันธ์ )

Lauro Guitar
Antonio Lauro


Luis Zea :กลับไปช่วงที่ผมได้ศึกษาดนตรีกับคุณ ผมจำได้ว่า คุณเล่น Bass line ได้ชัดเจนมาก  คุณช่วยบอกสิ่งนี้สักหน่อยได้ไหม ?


Antonio  Lauro :  ผมแนะนำให้ดึง bass line ออกมาและทำให้มันร้องเพลงได้ ' sing' .โดยเฉพาะอย่างยิ่ง bass เป็นโครงสร้างที่ดี เพราะว่านักดนตรีเข้าใจและรู้สึก ถึง bass ซึ่งSupport โครงสร้างทั้งหมดของการประพันธ์เพลง อย่างที่รู้ เสียง bass ต้องฟังได้ชัดเจน

ตรงนี้สำคัญมาก ผมให้ความสำคัญลำดับแรกที่ upper voice ต่อมาคือ bass line  การตีดแบบพักสาย ( rest stroke) จะต้องไม่ สุญเสีย ( not be lost ) แต่ต้องไม่เกิด overshadow ของ bass     นั้นเป็นเหตุผลที่ผมไม่ชอบเล่นแบบ ดีดผ่าน ( free stroke )กับนิ้วหัวแม่มือ และชอบใช้เทคนิคนี้เป็น ดีดแบบพักสายเมื่อไรก็ตามที่เป็นไปได้         มันคุ้มมากที่จะได้เสียง bass ที่ดี ผมรู้สึกว่าเบสของผมเป็นโครงสร้างที่ดี ผมค่อนข้างชอบมัน

8.31.2555

Twelve-Tone Technique

Arnold Schoenberg
อาร์โนลด์ โซนเบิร์ก
ขอคั่น บทสัมภาษณ์ Antonio Lauro สักหน่อยครับ เนื่องบทความครั้งที่แล้วแล้วได้มีการพูดถึง เทคนิคการแต่งเพลงแบบ สิบสองเสียง Twelve Tone Techique ลยนำมาเล่า เพื่อเป็นข้อมูลนะครับ 

เทคนิคการแต่งเพลง สิบสองเสียง หมายถึง การแต่งเพลงโดยใช้ลำดับของโน็ต ทั้งสิบสองเสียง ในบันไดเสียงโครมาติก ลำดับเสียงทั้ง 12 เรียกว่า โรว ( Row ) หรือ ซีรี ( Serie ) หรือทำความเข้าใจง่ายๆว่า โน็ตที่มีการกำหนดลำดับของเสียงก็ได้   ดังนั้น ดนตรีสิบสองเสียงจึงเป็น ดนตรีที่ไร้กุญแจเสียง เพราะใช้โน็ตครบทั้ง 12 ตัวเท่าเทียมกัน

วิธีการประพันธ์เพลงแบบนี้ถูกคิดค้นโดย อาร์โนลด์ โซนเบิร์ก  ( Arnold Schoenberg ) นักประพันธ์ชาวออสเตรียสัญชาติอเมริกัน เป็นสมาชิกคนสำคัญในสำนักดนตรีเวียนนาที่สอง เทคนิคนี้ถูกคิดค้นในปี 1921 และถูกนำมา เผยแพร่ โดยเขาเองในปี 1923   สมาชิกที่สำคัญในกลุ่มนี้อีกสองคนคือ แบร์ ( Alban Berg )และ เวเบิร์น ( Anton Webern)  เทคนิคนี้มีอิทธิพล และมีการต่อยอดในวงการ การประพันธ์นช่วงกลางศตวรรษที่ยี่สิบ

8.29.2555

บทสัมภาษณ์ Lauro ( 7 )

Luis Zea : คุณได้ศึกษา Twelve-Tone Technique กับ Sojo หรือเปล่า ?
Lauro :   เปล่าครับ  ผมได้อ่านศึกษามาเหมือนกัน    เพื่อนของผม ที่ชื่อ Jose Clemente Laya ชอบที่จะ experiment ในงาน เขาได้อธิบายเรื่องนั้น (Twelve-tone Technique  ) กับผม และผม มี exercises ( แบบฝึก ที่ช่วยพัฒนาเทคนิคการเล่นดนตรี ) กับเขา   มันไม่ได้ยากอะไรผมคิดว่าผมไม่ค่อยพอใจมันเท่าไร ที่ยากกว่าคือการประพันธ์ แบบ tonal music ยากกว่ามากๆ 


Luis Zea : ในงานของคุณได้ใช้  Serial Technique บ้างไหม ?

Webern on Stamps
 
Lauro   เปล่าครับ  นอกจาก exercises จริงๆผมไม่เคยคิดว่าเป็นงานที่ไม่คู่ควรเก็บรักษา   ผมได้ยินผลงานของ เวเบิร์น ( Webern ) และ โซนเบิร์ก( Schoenberg ) และผมมีความสุขกับเพลงนั้น แต่ผมไม่สามารถสร้างผลงานบางอย่าง อย่างนั้นได้  ผมไม่ชอบอะไรผมจะไม่ทำ บางที่ผมอาจเป็นเพราะตัวผมเอง ?  ( หัวเราะ )

8.14.2555

บทสัมภาษณ์ Lauro ( 6 )

Luis Zea : ผมทราบมาว่า คุณชอบโมสาร์ท มากๆ , เขามีอิทธิพลโดยตรงกับคุณหรือเปล่า ?


 โมซาร์ท
วอล์ฟกัง อามาเดอุส โมซาร์ท
 Lauro ใช่ครับ มากๆเลย เพราะว่า ผมเรียน Musical From โดยการศึกษาดนตรีของโมสาร์ท , ตัวอย่างเพลงของเขา ชัดเจนเสมอ แม้แต่ทุกวันนี้      เมื่อผมสอน Sonata Froms ใน Calss ผมจะใช้เพลงของโมสาร์ท เป็นตัวอย่าง   โซนาตาของนักประพันธ์ท่านอื่นก็ดี แต่ค่อนข้างซับซ้อนด้วย  มันง่ายที่จะเข้าใจ Sonata ของโมสาร์ท ก่อน , หลังจากนั้นค่อย เรียนรู้โครงสร้างสิ่งที่ซับซ้อนขึ้น  และความชัดเจนในโครงสร้างมีอิทธิพลกับผม    ดู โซนาตา ผมสิ นำนองหลัก (  theme ) นำไปสู่ ทำนองหลักในท่อนที่สอง ทุกอย่างชัดเจน 



8.08.2555

บทสัมภาษณ์ Lauro ( 5 )

Luis Zea : อยู่กับ Sojo มีอะไรบ้างที่มีอิทธิพล  ?


Ravel
มอริส ราแวล
โกล้ด-อาชีล เดอบูซี
โกล้ด-อาชีล เดอบูซ

 Lauro กับ Sojo เราฟังเพลงจำนวนมาก  เขาทำให้เราสนใจฟังเป็นพิเศษ และวิเคราะห์เพลงกระแสนิยมของ Debussy และ Ravel อย่างรวดเร็ว  , เป็นนักประพันธ์ที่เขาชื่นชอบ   ( โกล้ด-อาชีล เดอบูซี , Debussy และ  มอริส ราแวล, Maurice Ravel ทั่งคู่เป็นคีตกวี ชาวฝรั่งเศส )


Wagner
วากเนอร์
ในช่วงปีสุดท้ายในชีวิตของ Sojo มีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่  ณ.เวลาหนึ่งเขาไม่ยอมรับ ดนตรีของ เบโทเฟน  และ วากเนอร์ ( Wagner )  โดยเฉพาะปีสุดท้ายของชีวิตเขาเขามีความสุขและเข้าใจ วากเนอร์ และเขามีความตรงไปตรงมาเกี่ยวกับสิ่งนี้ เขาพูดว่า  " ฉันเปลี่ยนไป "  ฉันไม่เคยชอบมันแต่เดี๋ยวนี้ฉันชอบ ( ดนตรีของ วากเนอร์ )   ถ้าเขารู้ว่าเขาพลาดบางอย่าง เขาไม่ลังเลที่จะยอมรับมัน และพูดว่าเขาไม่เขาใจมันมาก่อน   สำหรับ ห้าหรือ หกปี เขาได้ศึกษา รวมรวมเพื่อที่จะฟังเพลงของ วากเนอร์  เขาฟังโอเปร่ายาวๆตั้งแต่ บาร์แรกถึงบาร์สุดท้าย และมีความสุขไปกับมัน คนเหล่านี้เป็นนักดนตรีผมได้ฟังกับเขา และผมได้รับการ comments จาก Sojo เมื่ออยู่กับเขาผมได้ฟังเพลงซึ่งเป็นบทเรียนตลอดเวลา 

8.04.2555

บทสัมภาษณ์ LAURO ( 4 )

Sojo

Luis Zea คุณสามารถพูดถึงบุคคลที่มีอิทธิพล ในการพัฒนารูปแบบ เพลงของคุณได้ไหม ?
Lauro คนแรกที่มีอิทธิพลกับผมในเรื่อง โครงสร้างทางดนตรีและ ความ สุนทรีย์ศาสตร์ คือ Vicente Emilio Sojo  แม้ว่าบางครั้ง เขาก็อายเล็กน้อย ในการใช้เสียงประสานที่ไม่สอดคล้องกัน เขายังสนับสนุนผมให้ใช้มัน และ แม้แต่แนะนำผมให้กล้ามากขึ้น 


 
Luis Zea ดังนั้น งานของคุณ ตามรูปแบบ polytonal ของ Sojo ?
Lauro ใช่ครับ ! เขาเขียนงานของเขาคล้ายกับตัวเขาเอง  หลายๆเพลงที่เขาเขียน เช่น Misa Cromatica , เป็นตัวอย่างที่ดีของ Polytonality    เขาถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในผลงานนี้ ( Misa Cromatica ) แต่เขาบอกว่า เขาสร้างงาน บุคลิกงานสวดพิธีกรรมและความเคารพอย่างมากในระเบียบแบบแผน มากกว่าหลายคนที่เขียน tonal works ( ดนตรีที่ใช้หลักของ โทนิก-โดมินันท์ หรือ เมเจอร์-ไมเนอร์เป็นบรรทัดฐาน ) , harmonically แบบดังเดิมและ ง่ายมากๆด้วย  ผมคิดว่าเขาทำบางสิ่งที่ยิ่งใหญ่ เขาพบอะไรเยอะแยะ

 ผลงานของSojo ในรูปแบบของกีต้าร์ ของค่าย Mel Bay

7.28.2555

บทสัมภาษณ์ LAURO ( 3 )


Luis Zea :   ทำไมเขาเรียกอย่างนั้นครับ ( Calle Rael )

Lauro :       เพราะว่ามันไม่ได้ยุ่งยากซับซ้อนอะไร    คุณแค่เดินตรงไปบนถนน และ มี Calle Real อยู่ทั่วไปบนถนนทั่วๆไปที่มีการเดิน  ดังนั้น Calle Real Vals ไม่มีเสียงประสานที่ัซับซ้อน ( Harmonic  ) คุณสามารถเพิ่มคอร์ด บางคอร์ด แต่ ไม่ออกจาก Home Key ผมคิดว่า ผมประสพความสำเร็จเพราะว่า ผู้คนมีความสุขกับเพลง วอลซ์ของผม 
Antonio Lauro

Luis Zea :  และรูปแบบการประพันธ์เพลงของคุณ ผมชเชื่อว่าคุณเรียก มันว่า Polytonal ?  
 Lauro :    ที่ผมเรียกว่า Polytonal ( คือ การประพันธ์บทเพลงโดยใช้หลากหลายกุญแจเสียง )เพราะว่าผมใช้ ลำดับของหลายtonalities      เริ่มกับ Bitonality ยกตัวอย่างเช่น เสียงหนึ่งเคลื่อนใน G Major ขณะที่เสียงอื่นๆ ตามมาใน F# หรือ E Major  รูปแบบการประพันธ์ของผมจริงๆไม่ได้เกี่ยวข้องกับ bitonality แต่เป็น polytonality ซึ่งมีโครงสร้าง วลีเช่นเดียวกับแบบ ดั้งเดิม , แต่เกิดการสร้าง Tensionและ  hamonic resolution ที่คาดไม่ถึง  นี่เป็นตัวอย่างง่ายๆ

Lauro
Sergei Prokofiev
หนึ่งในครูที่ยิ่งใหญ่ของผมคนหนึ่งใน ประพันธ์ในรูปแบบนี้คือ Prokofiew เพราะว่าเขาเป็นนักดนตรีที่ยิ่งใหญ่ ให้คุณลองฟังเพลงที่มหัศจรรย์ของเขาที่ชื่อ Perter and the Wolf

7.23.2555

บทสัมภาษณ์ LAURO ( 2 )

Luis Zea : คุณสามารถบอกเราเกี่ยวกับ รูปแบบการประพันธ์บทเพลงของคุณได้ไหม ?
Antonio Lauro

Lauro :  เกี่ยวกับที่ผมจะบอกคุณ รูปแบบจริงของผม เป็น Suite Venezolana , Sonata , Concierto para Guitarra y Orquesta  ( คอนแชร์โต้สำหรับกีตาร์และออร์เคสตรา ), Homenaje a John Duarte และอื่นๆอีกมากมาย   แต่ครั้งหนึ่งผมเคยได้ยินนักเปียโนผู้ยิ่งใหญ่ ชาว เวเนซูเอลา ที่ชื่อ Evencio Castellanos แสดงเพลงวอลซ์ (Valses ) ดีที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประเทศนี้เลย   เรารู้จักนักประพันธ์ หก,แปดหรือ สิบ แต่จริงๆมีเกินร้อย ,และทั้งหมดนั้นดีทีเดียว และน่าประหลาดใจอย่างยิ่งมากกว่า 60 คนเป็นนักประพันธ์หญิง ซึ่งเขียนเพลงวอลซ์ ( Valse )ได้มหัศจรรย์   

Evencio Castellanos

Evencio Castellanos บอกกับผมว่า " ผมมีมากกว่า 40 " มันดูเหมือนว่าในช่วงยุคอาณานิคมและจุดเริ่มต้นของสาธารณรัฐมันเป็นประเพณีสำหรับครอบครัวที่จะส่งเสริมให้อย่างน้อยให้ลูกสาวหนึ่งหรือสองคนไปเรียนเปียโนและพวกเขาจะมีการพบปะสังสรรค์เล่นเปียโนกัน    ลองฟังเพลง Vale ที่น่ามหัศจรรย์  เหล่านั้นสิ บางทีน่าอิจฉาเล็กน้อย ซึ่งกีต้าร์ไม่สามารถแสดงเพลง Vale ได้อย่างเปียโน

Raúl Borges 1882-1967
ผมมีเพลง Vals สองสามเพลง โดย Raul Borges , หลังจากนั้นผมเริ่มสร้างประพันธ์ ชุดเพลง Vals สำหรับกีต้าร์โดยได้รับแรงบันดาลใจจาก นักประพันธ์เพลง Vals ชาวเวเนเชูลาผู้ยิ่งใหญ่ ,ถึงแม้จะไม่มิติของ Vals เหล่านั้นซี่งปกติมีสามหรือสี่ส่วนซึ่งซับซ้อนมากขึ้น  เพลงแรกๆของผมชื่อเพลง Natalia และตามด้วยเพลง Andreina เป็นลำดับต่อมา   ผมตัดสินใจเขียนแบบเพลงวอลซ์ทั่วๆไป ซึ่งมีสองท่อน เช่นเพลง Las Bellas Noches de Maiquetia , Brisas del Zulia, Adios a Ocumare     ถึงแม้ผมจะเขียนเพลง Vals ยืดออกไปเล็กน้อย  โดยวิธีนี้เป็น tonal form ซึ่งนักดนตรีในยุคของผมเรียกว่า Calle Real ( Calleแปลเป็นอังกฤษว่า Street , Real = จริง)  ซึ่งหมายถึง Tonic and Dominant

 Note
คำว่า Vals เป็นภาษาสเปนหมายถึงเพลง วอลซ์ นะครับ
Antonio Lauro เคยศึกษาดนตรีกับ Raul Borger , เป็นนักกีต้าร์ชาวเวเนซูเอลา

7.18.2555

บทสัมภาษณ์ LAURO ( 1 )

คลาสสิคกีต้าร์
Classical Guitar Magazine, Sep 2002
ผมพบ บทสัมภาษณ์ Antonio Lauro  โดย Luis Zea ซึ่งตีพิมพ์ในนิตยาสาร คลาสสิคกีต้าร์ ฉบับเดือน กันยายน 2002  ซึ่งน่าสนใจจึงคัดบางส่วนมาแปล ( ในแบบของผม ) ส่วนฉบับเต็มท่านผู้อ่านสนใจก็ลองหาซื้อฉบับเต็มย้อนหลังนะครับ

ต่อไปเป็นการสนทนาระหว่าง Luis Zea กับ Lauro ที่บ้านของเขา ใน การากัส( Caracas )   , เวเนซุเอลาเมื่อ มิถุนายน 1984


คลาสสิคกีต้าร์
Luis Zea
Luis Zea:  คุณเห็นด้วยกับความคิดที่ว่า การเล่นเพลงลาตินอเมริกันที่ดีนั้น คุณต้องเป็นคนลาตินอเมริกัน ?      

Lauro:   ผมพูดจากประสบการณ์ของผมนะครับว่าใช่ , เป็นความจริงบางส่วน   เพลง Hungarian csarda เล่นโดย ชาวเปรู หรือโดย นักไวโอลินชาว เวเนซูเอลา โดยดู กระดาษ ( โน้ต )เพียงอย่างเดียว ไม่เหมือนกับ เพลง csarda ที่ถูกเล่นโดยใช้ใจของชาว ฮังการี โดย Gypsy orchestra และ นักยิปซีไวโอลิน   คุณต้องมีบางอย่างของชาวยิปซี , คุณต้องเป็นชาวฮังการี เพื่อที่จะทำให้เพลง มีความรู้สึกเพราะว่ามันมีความแตกต่างอยู่เล็กน้อย การยืดและหดของทำนอง , การเน้น จังหวะ ซึ่งกำหนดโดยการเต้นรำโดย( นักดนตรี )กำหนดเอง ,และ ฟื้นที่ถิ่นกำเนิดของดนตรีนั้น มีอิทธิพลอย่างมาก       คนฝรั่งเศส ร้องเพลง Mexican corrido ไม่เหมือนกับคนเม็กซิกันร้องเพลง coridoของเขา เช่นเดียวกัน คนเม็กซิกันร้องเพลงยอดนิยมของ ฝรั่งเศส เช่น Au Clair de la Lune, หรือ Sur le Pont D'Avignon ไม่เหมือนวิธีที่คนฝรั่งเศสร้อง ,สำเนียงของเสียง สำเนียงการเน้น การออกเสียงตัว r ของชาวฝรั่งเศส   ทุกอย่างมีอิทธิพลต่อผลลัพธ์ทั้งสิ้น
ยุค ฟื้นฟูศิลปวิทยา

Giovanni Pierluigi Da Palestrina

ในกรณีเพลงของผม ธรรมชาติเป็น Vals  ( Waltz ) เล่นโดยชาวเวเนซูเอลา ( Valse  Venezolano) และผมหมายถึงนักดนตรีชาวเวเนซูเอลา ,(ไม่ใช่ทุกคน ) มีโอกาสที่จะเข้าถึงจิตวิญาณ Vals มากกว่าถูกเล่นโดยคนที่ไม่ได้เป็นชาวเวเนซูเอลา


ในหลายๆเพลงของ Bach เราพบ ทำนอง ที่นำมาจากเพลงยอดนิยม ( ในสมัยนั้น ) แม้แต่ เพลงที่ประพันธ์ประกอบทางศาสนา  เขาใช้ทำนองที่นำมาจาก เพลงยอดนิยม  ไม่เพียงแต่ Bach     ,ก่อนหน้านี้เพลงจำนวนมากของ Palestrina( นักประพันธ์ ชาวอิตาเลี่ยน อยู่ในยุค Renaissance ) ตัวอย่างเช่น เพลง Missa Papare Marcelli ( หรือเรียกว่า Pope Mareellus Mass ) - และย้อนพูดถึง เพลงศาสนาของฝรั่งเศสชื่อ  L' Homme Armi ( เพลงยุค ฟื้นฟูศิลปวิทยา ) คนที่รู้จักเพลงนี้ยอมตีความ เพลงได้ดีกว่าคนที่ไม่รู้จัก ดังนั้นจะเป็นการดี ที่ว่ามันมีความจำเป็นสมาชิกของที่ที่เป็นต้นกำเนิดของเพลง เพื่อที่จะเล่นมันได้ดี


คลาสสิคกีต้าร์
จอห์น วิลเลี่ยม (John Williams)
              อย่างไรก็ตาม, ผมขอพูดถึง Venzuelan vals -โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Valse ของผม ซึ่งถูกเล่นโดยนักกีต้าร์ - มันเป็นไปได้ที่จะแนะนำ vals ที่มีเพียง การบันทึกโน็ตลงบนกระดาษ , เพื่อที่จะ เล่นตาม melodic line , โครงสร้าง , การเน้น เสียง , มันเป็นไปได้ที่จะตีความโดยสมบูรณ์แบบ

ยกตัวอย่าง เพลงของผมถูกตีความโดยสมบูรณ์แบบโดย เซโกเวีย (Segovia )และจอห์น วิลเลี่ยม (John Williams) ราะว่า พวกเขาเป็นบุคคลที่เข้าใจตรรกะเพลงที่อยู่เบื้องหลังแต่ละวลีเพลงโดยไม่ต้องอาศัยเครื่องหมายบ่งชี้เช่น Dynamic making อะไรทำนองนี้      

ขณะนี้ผมหมายถึง vals ของผมและ Venezuelan vals ทั่วๆไป นักแสดง( ดนตรี ) จะต้องเข้าใจโน้ตดนตรีและดูทั้งหมดที่บรรจุภายในในแง่ dynamic, tempo,accents เป็นต้น 



คงได้ข้อคิดบ้างนะครับ บางครั้งเราเล่นเพลงโน้ตถูกต้องหมดทำไมสำเนียงไม่ออก  หรือกรณี นักร้องเพลงลูกทุ่งไทย ร้องเพลงมนต์รักเพลงลูกทุ่ง แต่ไม่เคยไปเหยียบโคลนเลย นึกภาพ ชนบทไม่ออกอย่างนี้ ร้องอย่างไร ก็ฟังไม่เป็นมนต์รักลูกทุ่งนะครับ

Note: Csardas เพลงเต้นรำฟื้นบ้านของชาวฮังการี    มักจะนำมาเล่นโดย วงออเคสตรา ยิปซี        

7.10.2555

Short Biography -Carl Henze

 คาร์ล เฮนส์  (  Carl Henze  )



Complete Works For Guitar
  1. Nocturne  

  2. Under The Green Wood Tree

  3. Mazurka

รายชื่อพลงานเพลงเท่าที่ทราบมีแค่ สามเพลงนี้เท่านั้นครับ , เป็นเพลงสำหรับเล่นง่ายๆแต่โดยส่วนตัวผมชอบทั้งสามเพลงครับ  เพลงของ C. Henze เท่าที่ผมสังเกตคนญี่ปุ่นนิยมเล่นกันเยอะมากครับ ไม่ทราบเพราะ Yamaha นำไปบรรจุในหลักสูตรการเรียนการสอนหรือเปล่า ส่วนใครสนใจฟังพลงานของเขาผมแนะนำ ปกด้านล่างเลยครับ มีทั้ง Nocturne และ Under The GreenWood Tree  เป็นอัลปัมที่สนับสนุนโดย ยามาฮ่า 

 และจากรายชื่อเพลงที่เขาแต่ง ผมมั่นใจอย่างหนึ่งว่า นักดนตรีในดวงใจ สำหรับ C.Henze คือ โชแปงครับ 

In My Dreams
" In My Dreams "


จากประวัติ สั้นๆของเขา     คารล์  เฮนส์ เกิดเมื่อ 14 ธันวาคม 1872 เบอร์ลิน และเสียชีวิตเมื่อ 7 มกราคม 1946ที่ เมืองหลวงของรัฐบรันเดนบูร์ก ประเทศ เยอร์มันนี   เป็นบุตรของ จิตรกรชื่ออ็อตโต
และ และนางคลาร่า   ( O tto and Clara H  )
Carl He

เขาซื้อกีต้าร์ครั้งแรกเมื่ออายุได้ 15 ปี  และได้เรียนกับนักกีต้าร์ที่ชื่อ  Wilhelm Conrad  โดยเรียน ทั้ง Zither ,กีต้าร์ , การประสานเสียง  จนถึงปี 1890         

** หลังจากนั้นตั้งแต่ปี 1890-1892   เรียนแมนโดลิน  กับนักแมนโดลินชื่อ  Michele Fasano  ที่เบอร์ลิน  ในปีเดียวกันนี้บางข้อมูล บอกข้อมูลอีกแบบ ว่า   ได้เข้าหลักสูตร แมนโดลินที่ neapolitanischen Mandolinisten โดยเรียนกับครูที่ชือ Michele Fasano  ในปี1892-1894 เขาึศึกษากับ August Zurfluh ( ศึกษาจาก  Miguel Llobet ที่ปารีสมาอีกทีหนึ่ง  )  **

ในปี 1896 เขาตัดสินใจที่จะสร้างตัวเองในบ้านเกิด โดยเป็นครูสอนกีต้าร์และแมนโดลิน  และในปีเดียวกันเขาได้ก่อตั้ง สโมสรแมนโดลิน ( Mandolin Club ) ที่ชื่อ "Con Amore“

1900 เขาเข้า เป็นสมาชิกของ International  Association of Guitarist ใน München 


ในปี 1914 เขาตั้ง Berlin Mandolin and Lute Orchestra  

  
1919  เขาเป็นFederal conductor (DMGB) 


1894-1896  เขาได้ออกทัวร์ ในยุโรปกับ Fasanos Sextett  

1912-1915 เขาได้สอนกีต้าร์และแมนโดลินให้กับลูกชายตัวเองชื่อ Bruno Henze 


 พอสรุปได้ว่า    Carl Henze  เป็นนักกีต้าร์และแมนโดลิน , นักแต่งเพลง , Conductor , เป็นครูสอนดนตรี และเขาอาจเป็นครูสอนแมนโดลินที่มีชื่อเสียงที่สุดในเบอร์ลินในยุคนั้นเลย 

Link ที่เกี่ยวข้อง

6.29.2555

F.M Torroba นักประพันธ์ที่มี อิทธิพลกับ วงการกีต้าร์คลาสสิค

Moreno Torroba

ก่อนยุคนี้ผมเข้าใจว่าไม่มีนักประพันธ์ ที่มียิ่งใหญ่ แต่งเพลงให้กีต้าร์เลย  เช่น โมซาร์ท ( Wolfgang Amadeus Mozart )   , เบโธเฟน  ( Ludwin van Beethoven ) จะมีบ้างก็เช่น นิโคโล ปากานีนี ( Niccolò Paganini ) หรือแม้แต่ฟรานช์ ชูเบิร์ท  ( Franz Peter Schubert ) ซึ่งเล่นและแต่งเพลงในช่วงแรกๆบนกีต้าร์ ก็มีบทเพลงสำหรับกีต้าร์น้อยมากหรือแทบจะไม่มีเลย  ทำให้กระแส ความสนใจกีต้าร์อยู่ในวงจำกัด

Federico Moreno Torroba  เกิดที่กรุงมาดริด ประเทศสเปน เมื่อวันที่3 มีนาคม 1891   ( เสียชีวิตเมื่อ12 กันยายน 1982) เป็นนักประพันธ์ และ Conductorที่เล่นกีต้าร์ไม่เป็นแต่ มีอิทธิพลต่อวงการกีต้าร์คลาสสิค จนถึงปัจจุบันนี้


จากประวัติพบว่าพ่อของ F.M Torroba คือ José Moreno Ballesteros  เป็นนักออร์แกน ( ข้อมูลบางที่บอกว่าเป็นนักออร์แกนประจำโบสถ์ชื่อ La Concepción บางข้อมูลบอกว่า เป็นครูสอนดนตรีที่มาดริด)  แต่ข้อมูลที่ตรงกันกันคือ ครูที่สอนดนตรีคนแรกคือพ่อเขานั้นเอง หลังจากนั้นได้ ศึกษาด้านดนตรีและการประพันธ์ กับ ครูที่มีชื่อเสียงในยุคนั้นชื่อ Conrado del Campo ที่ National Conservatory of Music   

ทางด้านอาชีพ F.M Torroba ทำงานในตำแหน่ง Conductor ที่ Teatro Real  ( El Real ) ซึ่งเป็นopera house ในกรุงมาดริด     ดังนั้นเพลงส่วนหนึ่งที่ Torrobaประพันธ์ จะเป็นเพลงสำหรับ  วง Orchestra, Church Music แต่ที่รู้จักกันดี คือ Zarzuelas เป็นประเภทเพลงละครสเปน   ( Spainish Opera  ) 


Zarzuelas
Zarzuelas ชื่อ Luisa Fernanda ของ Torroba
 

สำหรับในยุคนั้นผมสังเกตเห็นศิลปินต่างๆมีความเป็น ชาตินิยมสูง ( Nationalism ) ดังนั้นจึงส่งผลรูปแบบของการแสดงศิลปะแขนงต่างๆ   ส่วนใครอยากฟังรูปแบบเพลงแต่ละประเทศสามารถหาฟังได้จากเพลงในยุคนี้ครับ สำหรับคำนิยาม รูปแบบการประพันธ์ดนตรีของ Torroba คือ National-Romantic โดยอยู่บนฟื้นฐานของ ดนตรีฟื้นบ้านสเปน

นักประพันธ์ร่วมสมัย ของ Torroba มีหลายคนที่มีอิทธิพลต่อวงการกีต้าร์คลาสสิคและมีความเกี่ยวพันกับ เซโกเวีย Segovia  )เช่น  Manuel Ponce ( เม็กซิกัน ) และ Joaquin Rodrigo ( สเปน )

Segovia
เซโกเวีย ( Segovia )

Torroba เขียนเพลง ที่สำคัญสำหรับกีต้าร์ไว้หลายเพลงหลังจากพบกับ เซโกเวีย ในปี 1920 เช่น Sonata in A Major , Burgalesa in F Sharp และ Castles of Spain suite เฉพาะเพลงที่ Torrobaประพันธ์เพลงให้กับเซโกเวีย (  Segovia  )   กว่า50 เพลง นั้นเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้วงการกีต้าร์คลาสสิค มีการเคลื่อนไหว และมีความนิยมในกีต้าร์

Torrobaประพันธ์เพลงสำหรับกีต้าร์เพลงแรกในปี 1919 ชื่อเพลง Danza ซึ่งต่อมาเป็น ส่วนที่สามของ เพลงชุด Suite Castellana   , เพลงที่ได้รับความนิยมอีกเพลงสำหรับกีต้าร์คือ Sonatina in A Major ซึ่งมีสำหรับสามPart โดยแต่งในปี  1930 ซึ่งมีทั้งVersion กีต้าร์ และ วง Orchestra

ตั้งแต่ปี 1952 เป็นต้นมาเขาเป็นผู้เชี่ยวชาญ ในการเป็นConductor สำหรับงานบันทึกเสียงและในปี
1974 ได้ประพันธ์ Dialogos Concento สำหรับ กีต้าร์และ Orchestra ให้กับ เซโกเวีย เพื่อแสดงถึงมิตรภาพระหว่างกัน  นอกจากนี้ ยังได้ประพันธ์ให้กับวง Los Romeros Guitar Quartet ซึ่ง เป็นวงที่Celedonio Romero เล่นร่วมกับลูกชายของเขา ( วงนี้ตั้งในปี 1960 )  นอกจากนี้เขายังประพันธ์ Concierto en Flamenco ให้กับนักกีต้าร์ฟลามิงโก ที่ชื่อ Sabicas


1976 เขาเขียน Concerto Iberica สำหรับเล่นกับกีต้าร์ สี่ตัว และ วง orcherstra  ให้กับ Romero Quartet .   เขายังเขียน Concierto en Flamenco สำหรับกีต้าร์ Flamenco และ orcherstra ด้วย ซึ่งเขาได้มอบให้กับ Sabicas เพื่อเล่นกับ Concert Orchestra of Madrid .  

Segovia
Segovia ,M.Torroba,Joaquin Rodrigo,Regino Sainz de la Maza , Eenesto Halffter ( 1979 )
สรุปได้ว่า เป็นนักประพันธ์ที่มีอิทธิพลอย่างมากกับวงการกีต้าร์คลาสสิค คนหนึ่งเลยทีเดียว
ตัวอย่างเพลงที่แนะนำ ให้ฟัง
  • Madronos  
  • Fandanguillo 
  • Sonata in A Major
  • Castillos  de Espana 
  • Noctorrno 
  • Noturrno No.2 
  • Bolero Meroquin
  • Segoviana
  • Preludio
  • Jota Levantina


Ana Vidovic, FM Torroba

6.23.2555

Introduce My Friend------------>>THE GIFT

Gift
ขอแนะนำเพื่อนอีกคนที่รู้จักกันจาก Facebook มานานพอสมควรแล้วนะครับ เป็นคนเดียวกับที่ผมขอรูป  Django มาลงในBlog ผมนะครับ             โดยเมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 เดือนนี้ผมอยู่กรุงเทพพอดี เลยขอไปเยี่ยมบ้าน เพื่อขอชมกีต้าร์Washbum หลังจากชมจากรูปที่เจ้าของโพสต์มาหลายครั้งแล้ว, เสียดายรูปที่ถ่ายวันนั้น SD Card คงโดนไวรัสเล่นงานเลยไม่ได้นำรูปมาลงไว้ ณ.ทีนี้
Washbum Made in Korea

นัดกันช่วงบ่ายๆผมเข้าไปพร้อมฝนเลยครับ โดยกิ๊ฟนำมอเตอรไซค์มารับปากซอยและฝ่าสายฝนเข้าไป 

แนะนำเจ้าของกีต้าร์หน่อยครับ ชื่อเล่นว่า กิ๊ฟ จบ ปวช ที่ วิทยาลัยศิลปะหัตถกรรมกรุงเทพฯ เอกวิตรศิลป์ ต่อ ปวส. ที่ ราชมงคลวิทยาเขต เพาะช่าง เอกจิตกรรมสากล จบ ป.ตรี ที่ราชภัฏวลัยอลงค์กร เอกบริหารทรัพย์ยากรมนุษย์ ครับ งานอดิเรกหนักไปทางศิลปะคือเล่นดนตรีและเขียนรูป งานที่ประกอบเป็นชาชีพจริงๆ อยู่วงการยายักษ์ใหญ่ ของไทยเลยครับ ( ดีทแฮลม์ ) ส่วนใน Facebook ถ้าอยากมีเพื่อนดีๆสักคน ให้พิพม์คำว่า Gift Kandit


Thai Hand Made Guitar
ด้านบนกีต้าร์ไฟฟ้าทราบประวัติว่า คุณพ่อสั่งทำเป็นกีต้าร์ไฟฟ้า Hand Made ทรง Fender ให้เป็นของขวัญวันเกิดและเป็นกีต้าร์ตัวแรกด้วยเมื่อ 15 ปีที่แล้วครับ เจ้าตัวเลยมีความผูกพันเป็นพิเศษ

Acoustic Fender
สำหรับเพลงที่ กิ๊ฟฟังอยู่ส่วนใหญ่เป็นเพลงบลูส์ และ แจ็ส  เท่าที่จำได้มีพวก Robert Johnson ,Stevie Ray ,Mississippi John Hurt , Wes Montgomery ,Django Reinhardt ใครเป็นคอเพลงแนวนี้ ลองคุยกับเขาได้นะครับ
The Gift with Washbum