หน้าเว็บ

www.mi-favorita.blogspot.com

www.mi-favorita.blogspot.com

7.18.2554

Francisco Tárrega -Father Of The Modern Classical Guitar


Francisco Tárrega (ฟรานซิสโก ทาร์เรก้า) ชาวสเปน  เกิดเมื่อ 21 Nov 1852 ที่ Villareal และเสียชีวิต ที่ Barcelona ( จ.บาร์เซโลนา สเปน) เมื่อวันที่  5 Dec 1909    Tárrega มีชีวิตอยู่รวม อายุ 57 ปีช่วงที่เขามีชีวิตอยู่เป็นยุคดนตรีที่เรียกว่า ยุคโรแมนติก ( Romantic Era )          ในสเปนตรงกับ ยุคการปกครองของ พระนางเจ้าอิซาเบลที่ 2 ( Isabella II of Spain ) แห่ง ราชวงศ์ บูร์บง (ฟื้นฟูครั้งแรก ) จนถึง พระเจ้าอัลฟอนโซ ที่ 13 ( Alfonso XIII of Spain ) แห่งราชวงศ์  บูร์บง ( ฟื้นฟูครั้งที่สองหลังจากผ่าน การปกครองของราชวงศ์ ซาวอย ) ถือว่าเป็นนักดนตรีที่ผ่านมา 4 ยุคการปกครองของสเปนเทียบกับของไทยจะเป็น ช่วง ต้นๆ สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปจนถึง ช่วงปลายๆ สมเด็จพระปิยะมหาราช เรียกได้ว่าในยุคนี้เกิดการเปลี่ยนแปลง ขึ้นหลายๆอย่างไม่ว่าจะเป็นการเมืองการปกครองหรือเทคโนโลยีทั้งในไทยเองและต่างประเทศ      ในเรื่อง Guitar Tárrega ก็ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายๆอย่าง บางคนเรียกว่าเป็นการปฎิวัติเลยทีเดียว




ตามประวัติแล้วพ่อของเขาก็เล่นกีต้าร์เหมือนกัน แต่ไม่ได้เล่นเป็นอาชีพ( เล่นในรูปแบบ Flamenco และเพลงทั่วๆไป )  พ่อของเขามีอาชีพเป็นยามที่ Convent of San Pascual ช่วงที่พ่อออกไปทำงาน
Tárrega  มักจะหยิบ Guitar ของพ่อเขามาเล่นเสมอ  ตอนเด็กๆTárrega เป็นคนไม่ค่อยพูดค่อยเจรจาจนมีnicknameว่า Quiquet ( silent )
Castellón
ในช่วงอายุได้ 8 ขวบเขาได้เริ่มต้นเรียน Guitar กับครูในท้องถิ่นชื่อ Manuel González   และ  Eugeni Ruiz   
ในปี 1862 เมื่อTárrega อายุได้ 10 ขวบพ่อได้พาไปพบกับได้พบกับJulián Arcas ซึ่งเป็นนักประพันธ์และเล่นคอนเสิร์ตที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น ที่ Castellón หลังจากจบการแสดงของ Arcas แล้ว Tárregaได้ลองเล่น guitarให้ฟัง  Julián Arcas เห็นแววอัจฉริยะของ Tárrega จึงขอให้ Tárrega ไปศึกษาดนตรีกับเขาที่ Barcelona พ่อของTárrega สนับสุนเรื่องการศึกษาของลูกในเส้นทางนี้อยู่แล้วจึงยอมอนุญาตแต่มีข้อแม้ขอให้ลูกเขา ได้ศึกษา Pianoตามสมัยนิยมไปด้วย   อย่างไรก็ตาม Tárrega ได้ศึกษากับ Julián Arcas ในช่วงระยะเวลาสั้นๆเท่านั้นหลังจากนั้น Julián Arcas ทัวร์คอนเสิร์ตในประเทศต่างๆ  
มรดกทางบทเพลงผมยังไม่เห็นอิทธิพลของ Julián Arcas ต่อการประพันธ์ของ Tárrega แต่กลับพบว่า การที่ Tárrega  สนใจและพัฒนารูปทรงของกีต้าร์ ของ ทอร์เรส ( Torres ) จนเป็นรูปทรงที่ใช้กันในปัจจุบันนี้( ทอร์เรส ...นักทำกีต้าร์คลาสลิกชาวสเปน ที่มีอิทธิพลที่สุดต่อช่างทำกีต้าร์ทั่วโลกในปัจจุปัน)  ก็คงยกเครดิตให้ Julián Arcas      ในเดือน ตุลาคม 1874  Tárrega ได้เรียนต่อ ด้าน Harmonry ( เรียบเรียงเสียงประสาน) และ Composition ( การประพันธ์บทเพลง ) ที่ Madrid Conservatory of Music  ในปี 1975 เขาได้รับรางวัลชนะเลิศด้าน Composition นั้นเป็นรากฐานที่ทำให้ผลงานการประพันธ์เขา ถือว่าอยู่ในชั้นครู

Tárregaเริ่มเส้นทางสายนักดนตรีอาชีพเมื่ออายุได้ 10 ขวบเท่านั้นโดย เล่นตามcoffee houses หรือตามภัตตาคาร ใน Barcelona  ช่วงเริ่มของการแสดงดนดนตรี Tárrega ได้แบ่ง แสดงเปียโนครึ่งหนึ่งและกีต้าร์ครึ่งหนึ่ง ที่เป็นอย่างนี้ต้องเข้าใจว่าในสมัยนั้นกีต้าร์ก็ไม่ได้รับความนิยม เท่ากับเครื่องดนตรีชนิดอื่นเช่นเปียโน หรือไวโอลินการแสดงกีต้าร์เพียงอย่างเดียวอาจไม่ค่อยได้รับความสนใจ ซึ่งมีผลถึงปากท้องได้ เรียกได้ว่าครึ่งหนึ่งเป็นธุรกิจอีกครึ่งหนึ่งเป็นความชอบส่วนตัว หรืออาจเป็นกลยุทย์ในการแสดงก็ได้ ซึ่งช่วงหลังTárrega มีชื่อเสียงแล้วก็เล่นแต่เพียงกีต้าร์อย่างเดียวแต่ไม่ว่าเหตุผลอะไรก็ตามที่เขาเลือกเล่นกีต้าร์แต่เพียงอย่างเดียวผมถือว่าเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องเพราะโอกาสเล่นเปียโนจนมีชื่อเสียงเทียบชั้น Beethoven หรือ Chopin ในยุคนั้นโอกาสแทบเป็นไม่ได้เลย หลังจากสร้างชื่อเสียงจนเป็นเป็นที่ยอมรับทั้งบทเพลงและเครื่องมือที่ใช้แสดงแล้ว ( Guitar )   Tárrega ก็ได้เดินทางแสดงดนตรีในต่างประเทศเหลายๆ ประเทศ เช่นลอนดอนในปี 1880 และ ฝรั่งเศษ ( ปารีส, แปร์ปิยอง ( Pergnan ),นี ( Nice )  Lyon 1881  )

 left to right- Andres Segovia,Miguel Liobet,Daniel Fontea,Emillio Pujol,1981
บทบาทการเป็นครู  Tárrega ได้เป็น Professor of Guitar ที่ Conservatories of Madrid และ Barcelona นอกจากนั้นยังได้ประพันธ์บทเพลงและแบบฝึกหัด( Study )หรือ วีธการเล่น (Methods )มากมายที่ยังใช้กันจนถึงปัจจุบันรวมถึง ผลิตบุคลากร / ลูกศิษย์ มากมาย เช่น Pasual Roch,Garia Fortea,Danic Forte,Josefina Robledo,Alberto Obregonโดยเฉพาะ Miguel Llobet และ Emilio Pujol ซึ่งต่อมาได้ ประพันธ์และสอนดนตรี จนมีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก

สำหรับผลงานของ Tárrega ผมแบ่งเป็นสองประเภทคือ
  1. Original Composed and Studies
  2. Transciption for Guitar

สำหรับนักดนตรีที่มีอิทธิพลต่อTárrega ผมคิดว่านักกีต้าร์มีอิิทธิพลน้อยกว่านักดนตรีที่เล่นเปียโน เช่น JS.Bach,Mozart,Beethoven,Berlizo,Chopin,Grieq,Handel,Haydn,Schubert,Scumann,Wagner,Albeniz คาดกันว่า Tárrega มีผลงานด้านTransciption ถึง 120ชิ้น มากกว่าผลงานที่ประพันธ์ เอง ( คาดว่า 78 ชิ้น ) 
    บทเพลงที่ผมนำมาเป็นตัวอย่าง เป็น Original Work ชื่อเพลง Vals en D ( Waltz in D Major  )  ถึงแม้เป็นเพลงสำหรับ Guitar Classical แต่ผมลองนำมาเล่นบนกีต้าร์ไฟฟ้า ผมคิดว่า Sound ยังร่วมสมัยนะ




    Pablo Sarasate
    อย่าลืมนะครับว่าGuitar ในศตวรรษที่ 19 เสื่อมความนิยมลงไปมาก เห็นได้จากประวัติของ Tárrega เองถึงแม้พ่อจะสนับสนุนลูกในการเล่นดนตรียังขอให้ลูกฝึกPiano ไปด้วยเลย หรือ ตัวของ Tárrega เองที่ถูกเรียกว่า Sarasate of Guitar ( ซาราซาเต (Sarasate )เป็นนักประพันธ์ และนักเล่น ไวโอลิน ชาวสเปนเกิดในยุคเดียวกันมีชื่อเสียง และเป็นที่โปรดปรานของ อิสเบลที่สอง แห่งเป็นอย่างมาก ) มีเกร็ดเล่าในฟังว่า ซาราซาเต  (Pablo Sarasate )เคยเล่นคอนเสิร์ต สถานที่เดียวกับ Tárrega ( Sarasateเล่นก่อน 1 วัน ) Sarasate ยังไม่สนใจด้วยซ้ำไป  




    Correct Posture
    ผมอยากให้ดูท่านั่งเล่นกีต้าร์ดังรูปที่อยู่ด้านขวามือครับ เป็นท่านั่งเล่นกีต้าร์ที่ถูกต้อง ทั้งมุม ของมือซ้ายและมือขวา รูปมือสวยงามมากครับ ทราบไหมครับท่านั่งเล่น Guitar Classical ที่ใช้เล่นทั่วโลกอยู่ในขณะนี้ ได้พัฒนามาจาก Tárrega เช่นกัน     สำหรับFootstool ก่อนหน้านี้มีนักกีต้าร์คลาสสิคใช้กันอยู่แล้วโดยใช้เท้าขวาวางแต่   Tárregaเปลี่ยนมาเป็นเท้าซ้าย  ทุกอย่างมีเหตุผลหมดนะครับมีโอกาสผมจะเขียน ในครั้งหน้าครับ

    Tárrega เป็นบุคคลที่มีความสำคัญมากในวงการกีต้าร์คลาสสิค Barrios กล่าวไว้ว่า “Without Tárrega, we would not be”

    Tárrega ถูกเรียกว่า  Founder Of The Modern Guitar School แต่ ท้ายที่สุดแล้ว นักกีต้าร์ คลาสสิกทั่วโลกได้ยอมรับว่าเขาเป็น "Father Of The Modern Classical Guitar "ซึ่งเป็นการยอมรับตรงกันทั่วโลกซึ่งดูยิ่งใหญ่มาก



    สำหรับผลงานที่เป็น อัลบั้มแนะนำ เป็นของ David Russell ชุด Integral Guitarra  1ชุดมี 2 แผ่น เป็นการรวมบทเพลงของ Tárrega 62 เพลง

    David Russell,1995

    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น