หน้าเว็บ

www.mi-favorita.blogspot.com

www.mi-favorita.blogspot.com

12.08.2556

ทฤษฎีดนตรีแจ๊ส เล่ม 1

ทามกลางหนังสือ/ ตำรา เกี่ยวกับ ดนตรีด้านแจ๊ส ที่ดูเหมือนยังขาดแคลนบนแผงหนังสือของไทยขณะนี้  ยังมีหนังสือ / ตำรา อีกเล่มหนึ่งที่เป็นทฤษฎีแจ๊สภาษาไทย ซึ่งเปิดโอกาสเด็กไทยหรือผู้ที่ไม่ได้ศึกษาดนตรีในระบบมีช่องทางปรับฐานต่อยอดของตัวเองได้

หนังสือ ทฤษฎีดนตรีแจ๊ส เล่ม 1  จุดหนึ่งที่ผมชอบมากคือ ไม่ได้เริ่มทฤษฎีจากศูนย์เหมือนหนังสือหลายๆเล่ม ทำให้ประหยัดหน้าหนังสือที่พิมพ์มาคนส่วนใหญ่ก็ไม่ได้อ่าน ดังนั้นผู้อ่านจะต้องมีฟื้นฐานมาบ้างพอสมควร

ศักดิ์ศรี  วงศ์ธราดล

จากเนื้อหาหน้าสารบัน มีดังนี้
  1. ขั้นคู่เสียง
  2. คอร์ดและส่วนขยายของคอร์ด
  3. บันไดเสียงเมเจอร์และ โมด
  4. บันไดเสียงไมเนอร์แบบฮาร์โมนิคและโมด
  5. บันไดเสียงไมเนอร์แบบเมโลดิกและโมด
  6. การดำเนินคอร์ด
  7. จังหวะสวิงในดนตรีแจ๊ส 
ทฤษฎีดนตรีแจ๊ส ผมขอคัดลอกประวัติผู้ แต่งหนังสือเล่มนี้ จากปกด้านหลังดังนี้ ศักดิ์ศรี วงศ์ธราดล  นักประพันธ์และนักเปียโนแจ๊สชาวไทย และอาจาร์ยประจำสาขาวิชาดนตรีแจ๊ส คณะดุริยางคศาสตร์ ม.ศิลปกร  

จบการศึกษาจากคณะเศษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้นไปศึกษาต่อปญิญาโทสาขา Jazz Performance ที่มหาวิทยาลัยนอธ์เท็กซัล สหรัฐอเมริกา ปัจจุบันกำลังศึกษาต่อในระดับปริญาเอกในสาขาวิชาการประพันธ์เพลงที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศักดิ์ศรี วงศ์ธราดล มีผลงานเพลงแจ๊สชื่อ Seaqull เป็นผลงานเพลงแจ๊สร่วมสมัยที่ประพันธ์เองทั้งหมด โดยได้รับแรงบันดาลใจจากเรื่อง โจนาธาน ลิฟวิง บาค  เกี่ยวกับนกนางนวลที่ค้นหาและพัฒนาศักยภาพของตัวเองและทำในสิ่งที่ตัวเองรัก ผลงาน Seagull ของ ศักดิ์ศรีได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล คม ชัด ลึก อวอร์ด ประเภทอัลบัมเพลงบรรเลงยอดเยี่ยม พ.ศ 2553

สุดท้ายผมขอเป็นกำลังใจให้ อ.ผลิต ตำรา / หนังสือ ลักษณะนี้ออกมาเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่องเพื่อให้คนไทยมีตำราภาษาไทยได้อ่านกันครับ

12.07.2556

ทฤษฎีดนตรี

วันนี้พูดถึงเรื่อง สิ่งที่ขาดไม่ได้เกี่ยวกับการปฎิบัติการทางดนตรี คือ ทฤษฎีดนตรี หรือจริงๆเป็นของคู่กัน การมีทฤษฎีเพียงอย่างเดียวขาดการปฏิบัติ ทฤษฎีนั้นก็ไร้ผล  

ตัวผมเองก็เช่นกัน หลายปีมานี้วนเวียนอยู่กับภาคปฎิบัติ จนรู้สึกว่าวงรอบคงไม่ใหญ่กว่าเดิมแล้ว ดังนั้นถ้าจะขยายวงรอบคงต้องเพิ่มเรื่องทฤษฎีดนตรีให้ทันกับภาคปฎิบัติ หรือในอนาคตมีความเชี่ยวชาญมากขึ้นอาจจะออกนอกวงโคจรตรงนี้ได้           ผมมีตำราของต่างประเทศอยู่หลายเล่มครับแต่ที่จะแนะนำวันนี้เป็นของ   อ.สมนึก อุ่นแก้ว   เนื่องจากคนทั่วไปสามารถหาซื้ออ่านได้ เนื้อหาครอบคลุม เป็นหนังสือขนาด  พ็อกเก็ต บุ๊ก ผมดูเนื้อหาแล้วดีกว่าของต่างประเทศหลายๆเล่มเลยทีเดียว     

สมนึก อุ่นแก้ว
  
ชื่อหนังสือว่า ทฤษฎีดนตรีแนวปฎิบัติ เล่มที่ผมมีอยู่เป็นการพิมพ์ครั้งที่ 7 ตามหน้าสารบันหัวข้อใหญ่ๆมีดังนี้
  1. จังหวะ
  2. ระดับเสียง
  3. บันไดเสียง
  4. ขั้นคู่เสียง
  5. คอร์ด
 รายละเอียดด้านในถือว่าพอเพียงในการเริ่มต้นศึกษา  ดังนั้นจงวางรากฐานให้หมั่น เพื่ออนาคตในการเดินในสายดนตรีที่ไวขึ้นครับ
    

12.04.2556

Tribute to KING OF JAZZ

Tribute to KING OF JAZZ
อัลบัมชุด Tribute to KING OF JAZZ  ( พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช  )โดย  เรียบเรียงโดยนักดนตรีแจ๊สชาวอเมริกา John di Martino

CD ชุดนี้จัดทำขึ้นเพื่อ เฉลิมฉลองในวาระที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๗ ปี ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๖ และการเริ่มปีมหามงคลที่พระองค์ทรงเจริญพระชนม์มายุครบ ๘๖ พระชันษาในปีพุทธศักราช ๒๕๕๖ ลักษณะการเรียบเรียงเป็นแบบ  Acoustic Jazz ผลิตแบบLimited Editionเฉพาะแผ่นทอง 24 bit / 96khz เพียง 3,000 แผ่นเท่านั้น  ผมซื้อมาในราคาราคา 589 บาท ด้านหลังมี Run Number ด้านหลังปกด้วยครับ ของผมได้หมายเลข 1272 ครับ


John di Martino
Tribute to KING OF JAZZ ( ด้านหลัง แสดง Run Number )

ลำดับรายชื่อบทเพลงพระราชนิพนธ์ ดังนี้
  1. แสงเทียน    ( Candlelight Blues )
  2. แสงเดือน     ( Magic Beams )
  3. สายฝน     (  Falling Rain )
  4. ลมหนาว   (   Love Spring )
  5. ยามเย็น    (  Love at Sundown )
  6. Oh I Say
  7. อาทิตย์อับแสง    ( Blue Day )
  8. ชะตาชีวิต  ( H.M. Blues )
  9. สายลม    ( I Think of You )
  10. ในดวงใจนิรันดร์   ( Still on My Mind )
  11. แว่ว  (  Echo )
ผมทดลองฟังหลายๆรอบ ที่เห็นได้ชัดเจนลำดับแรกเลย อัลบัมชุดนี้เสียงดีมาก ( ลองฟังในชุดเครื่องเสียงที่ให้รายละเอียดที่ดีหน่อย ) พอลองเอา แผ่นCD ต่างประเทศที่เคยฟังเป็นประจำทดลองฟังแบบไม่จับผิดนำแผ่นใส่ในเครื่องเสียงต่อจากแผ่นนี้ปรากฎเสียงดรอปลงเจอเลยครับ

การเรียบเรียง บอกตรงๆครั้งแรกๆที่ฟังค่อนข้างผิดหวังเพราะคาดเดาได้ ใครเรียบเรียงบทเพลงพระราชนิพนธ์ออกมาสีไม่ค่อยแตกต่างกัน แต่พอลองฟังรายละเอียดไส้ใน ( เสียงประสาน ) พบว่าทำได้ดีมากเก็บไว้ฟังได้นานเลย อีกอย่างการเล่นร่วมกันของเครื่องดนตรีต่างๆในวงดีมากครับไม่มีใครเด่นเป็นพระเอกคนเดียวเลย  ถ้าถามว่าในอัลบัมชุด  Tribute to KING OF JAZZ ให้เลือกเพลงที่ชอบที่สุดเพียงเพลงเดียวผมเลือก Oh I Say ชอบการเดิน bass มากครับ



John di Martino
John di Martino
เครดิตนักดนตรีดังนี้
John di Martino----------------------musical direction, arrangements, piano,keyboards
Alex Foster (อเล็กซ์ ฟอสเตอร์)  ---------------soprano and alto saxophones , clarinet
Paul Meyers(พอล เมเยอร์) ---------------------------------acoustic nylon string guitar
Deanna Kirk (ดีนนา เคิรต์) -------------------------------------------------------voice
Boris Kozlow  (บอริส คอสลอฟ) ---------------------------------------- acoustic bass
Tim Homer (ทิม ฮอร์นเนอร์)-----------------------------------------------------drums

11.29.2556

Mode ของ อ.ปราชญ์

VCD แผ่นนี้ผมซื้อไว้นานมากแล้ว คิดว่าอาจเกิน 5 ปีซะด้วยซ้ำ ชื่อเต็มๆตามปกคือ MODE PART MUSIC WORKSHOP โดย อ.ปราญช์ อรุณรังษี     เนื่องจากผมเองไม่ได้เรียนดนตรีเป็นระบบคือสนใจอะไรก็จะไปศึกษาในหัวข้อนั้นๆ  ดังนั้นผมจะมีตำราหรือสื่อการสอนเยอะมากเพราะผมรู้ว่าสักวันผมก็ต้องสนใจสิ่งนั้นๆ แม้บางเรื่องนำมาศึกษาแล้วไม่เข้าใจเลยก็ตาม      วันนี้ผมเริ่มสนใจ ( Mode ,สเกลต่างๆอีกครั้ง ) ก็เริ่มนำกลับมาทบทวนใหม่  

สำหรับการสอนเรื่อง Mode ของ อ.ปราชญ์ในชุดนี้ ผมพบว่า แ.ปราชญ์ใช้เทคนิคในการจำแบบง่ายๆ คล้ายๆสูตรเวลาเราไปเรียนกับติวเตอร์เก่งๆตามสถาบันต่างๆ คือทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายพร้อมนำมาใช้ได้ทันที

ปราชญ์  อรุณรังษี
Mode โดย อ.ปราชญ์ อรุณรังษี

11.07.2556

Thailand International guitar festival 2013

Thailand International guitar festival 2013
อีกงานหนึ่งที่ผมพยายามไปดูทุกปี คือ Thailand International guitar festival แต่ปีนี้เก็บค่าตั๋ว 500 บาท ( จากปกติไม่ได้เก็บ )  ซึ่งดูแล้วผู้ชมไม่ได้ลดลง แสดงว่า มีผู้ชมที่เป็นแฟนคลับ คือถึงแม้มีค่าผ่านประตูก็ไปชมอยู่ดี

ผมไปชมวันสุดท้ายเนื่องจากติดงานและตั้งใจไปชม  อ.มนูญ พลอยประดับ ซึ่งผมชื่นชมการประพันธ์โดยนำดนตรีฟื้นเมืองชาวเหนือมาเรียบเรียงเล่นบนกีต้าร์คลาสสิค คงคล้ายๆ  H.Villa-lobos ที่รวมทำนองเพลงฟื้นเมืองมาเรียบเรียงใหม่

Manoon Plopradab
อ.มนูญ พลอยประดับ
ระหว่างการแสดง อ.มนูญพยายามยิงมุขตลอดว่านี้ไม่ใช่การแข่งขันใดๆอยากให้ฟังดนตรีอย่างสบายใจ , บรรยากาศบนเวที แบบผู้ชมเงียบตั้งใจฟังนี้คนเล่นเครียดได้เหมือนกันนะครับ
ตามโปรแกรม ที่ อ.มนูญเล่น ก็ตามรายการดังนี้ครับ
  1. Somewhere Somehow ( H.M.the King of Thailand )arr.by Manoon Ploypradab
  2. Lanna Traditional Pieces / Lang Mae Ping & Rose Of Chianng Mai ( Theme and Variation ) arr.by Manoon Ploypradab
  3. Tres piezas espanolas ( J.Rodrigo )
  4. Fandango , Passacaglia & Zapateado 
  5. Oh I Say (  H.M.the King of Thailand ) arr.B.Sumner & M.Ploypradab
  6. Lao Pan ( Thai Traditional Song ) 
  7. น้อยใจยา ( เปลี่ยนจาก Etude no.7 , H.Villa-lobos )
 
กีต้าร์คลาสสิค
Laurent Boutros ( France )

ส่วนศิลปินอีกท่านมาจากฝรั่งเศษ ชื่อ Laurent Boutros แกเล่นเพลงสำเนียงแปลกๆ จะว่ารูปแบบเป็น บาโร้คก็ไม่ใช่ Modern ก็ไม่เชิง แต่แน่นอนครับ เพลงที่แกเล่นมีหลายเพลงที่แกแต่งเอง ดังนั้นศักดิ์ศรีเท่ากับ โมสาร์ท หรือ บีโธเฟนแล้วครับ ตามโปรแกรม ตามนี้ครับ
  1. Zamba da Vargas ( A.Yupanqui )
  2. Chacarera ,la Misterio ( R.Maldondo )
  3. Danza del mais maduro ( A.Yupanqui )
  4. Les Echelles du Levant ( Laurent Boutros)
  5. Vals for Atom  ( Laurent Boutros)
  6. Noubar , Noubar ( Armenian popular song )
  7. Suite Cauasienne   ( Laurent Boutros)

10.29.2556

Tommy Emmanuel & Martin Taylor Live in Bangkok

กีต้าร์
Ticket of Tommy Emmanuel & Martin Taylor Live in Bangkok
ในทีสุดก็ได้ดู สองคนนี้เล่นซักที ผมซื้อบัตร์ราคา 2,000 บาทนับว่าเป็นตั๋วดูการแสดงดนตรีที่แพงที่สุดนับแต่ได้ซื้อมาครับ แถวที่นั่งก็มองเห็นเวทีได้ดี แต่เสียดายภ่ายภาพด้วยมือถือ ระยะขนาดนี้ ภาพออกมาไม่ดีครับ

เจอนักดนตรีหรือเพื่อนใน Facebook คุ้นๆหน้าหลายคนเลยแต่ไม่ได้ทักทายกัน นอกจากคนไทยก็มีฝรั่งแฟนคลับติดตามมาดูเยอะเลยสังเกตุดู ที่นั่งเต็ม M Theatre นะครับ

กีต้าร์
Tommy Emmanuel & Martin Taylor Live in Bangkok

10.27.2556

อยากให้ร้านขายCD ,อุปกรณ์เครื่องดนตรี พัฒนากว่านี้

Tommy Emmanuel & Martin Taylor
The Colonel & The Governor ,Tommy Emmanuel & Martin Taylor
ผมเคยศึกษา VCD การสอนของ Tommy Emmanuel และ Martin Taylor ก่อนที่ผมจะเล่นกีต้าร์ หรืออาจจะเป็นช่วงเวลาคาบเกี่ยวเดียวกันประมาณนั้น  หลายครั้งที่ Tommy Emmanuelมาเล่นที่เมืองไทยแล้วผมพลาดไปเพราะเป็นโรคบ้างาน หรือ Martin Taylorมาเล่นที่เมืองไทยพอแถึงเวลาจริงก็ติดงานอีก แต่ครั้งนี้คิดว่าคงไม่พลาดเพราะทั้งคนที่ผมอยากดูเล่นสดซักครั้ง เหมือนจะเอาใจคนไม่ค่อยว่างอย่างผมจึงรวมตัวกันมาแสดงที่เมืองไทยเป็นครั้งแรก  ( ผมซื้อตั๋วแล้วแต่ก็ยังไม่แน่นอน ถ้ามีงานด่วนขึ้นมาจริงๆ )

Tommy Emmanuel & Martin Taylor
The Colonel & The Governor, Tommy Emmanuel & Martin Taylor  ( ด้านใน  )

 เข้าเรื่องว่า ผมเจออัลบัมเล่นคู่ ระหว่าง Tommy Emmanuel (ทอมมี่ เอ็มแมนวลเอล) และ Martin Taylor ( มาร์ติน เทย์เล่อร์ ) ชุด The Colonel & The Governor ค่าย Sony Music เลยซื้อมาฟังเพื่อบิ้วอารมณ์ก่อนชมคอนเสิร์ตจริง ราคาขายแผ่นละ380 บาท 
ผมคิดว่าอัลบัมชุดนี้ออกมาโปรโมททัวร์ ของมาร์ตินและ ทอมมี่นะครับ List รายการชื่อเพลงเป็นเพลงเก่านำมาCover ใหม่ เพราะดีครับ
เรื่องที่อยากบอกคือ ผมซื้อ CD ชุดนี้จากร้าน  HI-End Music Listening Boutique อยู่บริเวณชั้น 4 การแต่งร้านดูดีส่วนใหญ่ผมสังเกตคนเดินผ่านไป-มา จะแวะเข้ามาดูเป็นส่วนใหญ่นะครับ / ส่วนเครื่องเสียงที่เปิดบรรเลงตลาดเวลานั้นเสียงเพราะจนผมแยากได้เครื่องชุดนั้นเลยทีเดียว   ข้อเสียในฐานะนักบริโภค เสียงเพลงและชอบเข้าร้านขายเครื่องดนตรีเป็นกิจวรรตแย่างผมเจอ  มักจะเจอคนขายที่พูดไม่ค่อยมีหางเสียงหรือถามคำตอบคำ  ร้านขายอุปกรณ์ดนตรีก็เหมือนกัน การขอลองฟังเสียงหรือเล่แทบจะเป็นการวัดใจกันเลยที่เดียวลองไปก็เครียดไป เสียงไม่ถูกใจ จับไม่ถนัดมือไม่ซื้อมันจะว่าไม๊ เล่นนั่งเฝ้าระยะประชันชิดเลย ลองแล้วเครียด

แปลกดีไหม เสียงดนตรี อยู่ใน Mode ความรื่นรมย์      ทำไมงานบริการสินค้าประเภทนี้ถึงคล้ายๆกันหมดนะ ถ้าไม่รักงานขาย งานบริการจริงควรไปหาสิ่งที่ตัวเองชอบดีกว่า            ที่เขียนไม่ได้ตำหนิใครโดยเฉพาะ อย่างร้าน HI-End Music Listening Boutique ผมก็เพิ่งเข้าไป Like ใน Face Book มากี้นี้เองเป็นการพูดทั่วๆไปนะครับ                ปล.มีน้องที่เป็นพนักงานขายอีกคนในร้านที่พยายามเข้ามาสอบถามและให้บริการ  ส่วนอีกคนนั่งที่เคาเตอร์คงเป็นซีเนียร์หรือเป็นเจ้าของก็มิทราบได้มาดการพูดและท่าทางได้มากครับ 

10.23.2556

ตอบโจทย์

ไม่ใช่ชื่อรายการ TV นะครับ ,วันนี้ใช้ชั่วโมงเรียนของลูกไปเรียน Bass Jazz กับ อ.Jibb ได้ความรู้ตอบข้อสงสัยให้ตัวเองมากเลยครับ  เช่นตัว Tension มีกี่ตัว  เช่น มี 7,9,11,13 แล้วตัว 10,12, หายไปไหน ?   และหลายข้อสงสัย ( จริงๆคงไม่ใช้เรื่องยากอะไร แต่ผมไม่ได้เรียนมาเท่านั้นเอง )

เรียน Bass Jazz

Bass Jazz Advance By Jibb

วันนี้เนื้อหายากพอสมควรสำหรับคนไม่ได้เรียน ทฤษฎี ( แน่นๆ ) มา แต่ก็ตอบโจทย์ส่วนตัวผมได้เยอะเลยครับ

10.14.2556

วิธีการแต่งเพลงกับกระดาษหนึ่งแผ่น

เมื่อวานศุกข์ที่ผ่านมา  ผมเห็นกระดาษโน็ตแผ่นนี้ค้างที่หน้า Computer  ของ อ.กมล  อัจฉริยะศาสตร์   ตอนแรกคิดว่า อ.จะแต่งเพลงใหม่  , ไม่ใช่ครับแต่เดาเข้าประเด็น คือการเป็นครูสอนดนตรีก็มักจะมีลูกศิษย์ตั้งคำถามต่างๆ หนึ่งในนั้นก็อาจจะเป็นจะเริ่มต้นแต่งเพลงอย่างไร ?

คำถามนั้น อาจจบลงด้วยกระดาษแผ่นเดียว  

จะเริ่มต้นแต่งเพลงอย่างไร ?

โดยสมมุติว่า เราจะทดลองแต่งเพลงใน อัตรา 4/4  ใน 4 ห้อง ถ้าเราใส่โน็ตตัวขาว ก็จะใส่ได้ตััวเดียว แต่ถ้าเป็นโน็ตตัวดำจะใส่ได้ 4 ตัว  หรือ  ใน 1 ห้อง ถ้าเราใส่โน็ต เขบ็ต 1 ชั้นได้ 2 ตัวแต่ถ้าเราใส่ไปแค่ตัวเดียวยังเหลือฟื้นที่ให้ใส่ โน็ตเขบ็ต 2 ชั้นไปได้อีก 2 ตัว  ส่วนตัวประจุดอยู่ด้านล่างหลักการเหมือนกัน ดูแล้วเข้าใจง่ายดีครับ

ผมเข้าใจเอาว่า พอใส่โน็ตครบ ก็เป็นเพลงแล้วเพียงแต่ ฟังหรือเปล่าอีกเรื่องหนึ่งครับ

( ขอโทษครับต้นฉบับที่ได้รับมาเอียงไปนิด )

10.07.2556

Picture Chord Encyclopedia / Recommend Book



Picture Chord Encyclopedia
แนะนำหนังสือ Picture Chord Encyclopedia ของค่าย  Hal-Leonard ที่มือกีต้าร์ควรเก็บเอาไว้อีกเล่มหนึ่ง ราคาขายที่ Kinokuniya 465 บาท ( 14.95 us )  

ภายในเล่มจะมีรูป คอร์ดต่างๆประกอบ   ยกตัวอย่าง  คอร์ด C จะประกอบด้วย C ( Cmaj ) ,C5 ( Power Chord ) ,Csus4 , Csus2 , Cadd9, C6 , C6/9 , Cmaj7 , Cmaj9 , Cmaj7#11 ,Cmaj13 , Cm , Cm( add9 ) , Cm6 , Cmb6 , Cm6/9 , Cm7 , Cn7b7 , Cm7b5 , Cm ( maj7 )   ,  Cm9   , Cm9b5 , Cm9( maj7 ) , Cm11 , Cm13 , C7 ( Cdom7 ) ,  C7sus4 ,  C7B5 , C9 , C9sus4 , C9b5 , C7b9 , C7#9 , C7B5 ( #9 ) , C11 , C7#11 , C13 , C13sus4 , C+ , C+7 , C+9 , C+7b9 , C+7#9 , Cdim ,  Cdim7  ,  C# , C#5 , C#sus4 , C#sus2 , C#add9 , C#6 , C#6/9 , C#maj7 , C#maj9 , C#maj7#11 ,   C#maj13 , C#m , C#m ( add9 ) , C#m6 , C#mb6 , C#m6/9 , C#m7 , C#m7b5 , C#m ( maj7 ) , C#m9 , C#m9b5 , C#m9 ( maj7 ) , C#m11 , C#m13 , C#7 , C#7sus4 ,  C#7b5 , C#9 , C#9sus4 , C#9b5 , C#7b9 , C#7#9 , C#7b5 ( #9 ) , C#11 , C#7#11 , C#13 , C#13sus4 , C#+ , C#+7 , C#+9 , C#+7b9 , C#+7#9 , C#dim , C#dim7  แต่ละคอร์ดนับรวมได้   88  ชนิด ! 
แต่ละคอร์ดยังมีตัวอย่างซึ่งแนะนำตำแหน่งที่สามารถจับบนคอกีต้าร์ อีก 5 ตำแหน่ง

ถึงแม้ผมจะเล่น Classic Guitar เป็นหลักแต่พบว่า Modern classic guitar หรือ Composerในกลุ่มลาตินอเมริกามักจะมีคอร์ดสมัยใหม่ร่วมเสมอ  หนังสือเล่มนี้จึงเป็นหนังสืออ้างอิงได้เป็นอย่างดี

9.16.2556

Falla... Spanish Nationalist Composer

Spanish Nationalist Composer
Manuel de Falla
Manuel de Falla ถือเป็นชาวสเปนคนแรกๆที่ ถือเป็น นักประพันธ์เพลงชาตินิยม (  Nationalist Composer )โดยมีชิวิตอยู่ในช่วง 1876-1946  ในสเปนยุคนั้นนักประพันธ์ชาวสเปนที่ เป็นกลุ่ม Nationalist Composer ด้วยก็เช่น Isaac Albeniz , Granados      

Falla  เกิดที่ กาดิซ ( Cadiz ) เขาได้เรียนเปียโนครั้งแรกจากแม่เขาเอง (  María Jesús Matheu y Zabal )  ช่วงอายุเก้าขวบเขาได้เรียนเปียโนกับครูที่ชื่อ Eloísa Galluzo ในช่วงสั้นๆก่อนที่เธอจะตัดสินใจไปบวชเป็นชี  

ในปี 1889 เขาได้ศึกษาเปียโนอย่างต่อเนื่องกับAlejandro Odero  และเรียนรู้การเรียบเรียงเสียงประสานกับ Enrique Broca  

ตอนอายุ 15 เขาสนใจใน วรรณกรรมและสื่อสารมวลชน โดยได้ทำนิตยาสาร  El Burlón and El Cascabel

Manuel de Falla
Falla and Paco Aguilar
 จุดเปลี่ยนชีวิตเกิดในปี 1893 หลังจากชมการแสดงคอนเสิร์ตจากผลงานของ Edvard Grieg   ทำให้เขาได้รับแรงบันดาลใจทางด้านดนตรี หลังจากนั้นทำให้เขาต้องเลือกสายอาชีพนักดนตรี ( จากเดิมอาจจะตัดสินใจระว่างงานดนตรีกับงานด้านประพันธ์หนังสือหรือนิตยาสาร )

ในปี 1896 เขาย้ายไปยังกรุงมาดริด โดยเรียนที่ วิทยาลัยทางด้านดนตรีชื่อ Real Conservatorio de Música y Declamación , เขาได้เรียนเปียโนกับ José Trago และประพันธ์ดนตรีร่วมกับ Felipe Pedrel ในปี 1897 เขาประพันธ์ Melodia for cello and piano และอุทิศให้กับ Salvador Viniegra ซึ่งเป็นเจ้าภาพของ chamber music ที่ Falla เข้าร่วม 

ในปี 1899 เขาได้รางวัลชนะเลิศการแข่งขันเปียโนที่โรงเรียนเขาเองด้วย คะแนเสียงเอกฉันท์

ในปี 1902 เขาได้ศึกษาดนตรีกับประพันธ์และดนตรีศึกษาศึกษาชาวสเปนที่ชื่อ  Felipe Pedrell  ครูท่านนี้เองที่มีส่วนสำคัญในการประพันธ์เพลงในลักษณะ Nationalist Composer ต่อ Falla เป็นอย่างมาก

Manuel de Falla
Paul Dukas

 ในปี 1907 จากการแนะนำของ  Joaquín Turina ( พบกันครั้งแรกในปี 1902 ) และ Víctor Mirecki Larramat   Falla ได้เดินทางไปปารีส ที่นั้นเขามีเพื่อนนักดนตรีมากมายเช่น Dubussy ,Paul Dukas และ Ravel  

ในปี 1910  Fallaได้พบกับ Igor Stravinsky และได้เดินทางไปอังกฏษในช่วงสั้นๆ   เขาได้ประพันธ์ Siete canciones populares españolas ซึ่งกว่าจะเขียนจบก็กลางปี 1914

ช่วงที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 หลังจากประเทศเยอร์มันนีประกาศสงคราม เขาเดินทางกลับกรุงมาดริค และเป็นช่วงที่เขาผลิตผลงานออกมามากที่สุด ในปี 1915 เขาประพันธ์เพลง El amor brujo ( Love the Magician ) โดยได้รับแรงบันดาลใจจากเพลงฟื้นบ้านสเปน และมีผลงานอื่นๆติดตามมาเช่น Noches en los jardines de Espana ( Night in the gardens of Spain )  ในปี1919 เพลง El sombrero de trespios ( The Tree-Cornered Hat ) สร้างชื่อเสียงให้กับ Falla เป็นอย่างมาก

Falla at Alhambra , Granada
Falla at Alhambra , Granada 1919
 ช่วงปี 1921-1939 ระบุว่า Falla อาศัยอยู่ กรานนาดา แต่จากรูป ระบุว่า Falla ( คนขวา ) ถ่ายร่วมกับนักออกแบบท่าเต้นชื่อ Massine ที่พระราชวังอาลัมบรา ,กรานนาดา ในปี1919

Spanish guitar
Spanish dancers , Seville 1900
การแต่งตัวการเป็นเอกลักษณ์ คือการสวมหมวก และสูทพร้อมหูกระต่าย ผมคิดว่าสเปนในสมัยนั้นคงนิการแต่งตัวตามสมัยนิยมแบบนี้ จากรูปด้านบนเป็นภาพนักดนตรีฟรามิงโก้ในยุคเดียวสังเกตว่าการแต่งตัวจะคล้ายๆกัน 

ในปี1939 เขาตอบรับ การเชิญไปประเทศอาร์เจนติน่า     ต่อมาหลังจากนายพล Francisco Francoได้รับชัยชนะจากสงครามกลางเมืองของสเปน หลังจากนั้นรัฐบาลของFrancoได้เสนอเงินบำนาญขนาดใหญ่ถ้าเขาเดินทางกลับสเปนแต่ Falla ปฎิเสธ และอาศัยอยู่ที่นั้นจนกระทั่งเสียชีวิต  ในปี 1947 ศพของเขาได้ถูกนำกลับสเปนและถูกฝังไว้ใน cathedral ที่Cádiz
Claude Debussy
Claude Debussy

น่าแปลกมาก สำหรับการประพันธ์เพลงสำหรับกีต้าร์ในชีวิตเขา ได้ประพันธ์ไว้แค่เพลงเดียว คือ Homenaje pour le Tombeau de Claude Debussy เพื่อระลึกถึงเสียชีวิตของ Debussy นักประพันธ์ชาวฝรั่งเศสที่ประพันธ์งานหลักบนเปียโน

8.15.2556

ฮัคกี้ ไอเคิลมานน์ ปลุกกระแสกีต้าร์คลาสสิคในเมืองไทย

ฮัคกี้ ไอเคิลมานน์
ฮัคกี้ ไอเคิลมานน์( Hucky Eichelmann )
    ฮัคกี้ ไอเคิลมานน์ (Hucky Eichelmann ) ปลุกกระแสกีต้าร์คลาสสิคในเมืองไทยในช่วง ออกอัลบัม เพลงพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ชุด Candlelight Blues จำได้ว่าปลุกกระแส เด็กไทยหันมาเล่นกีต้าร์คลาสสิคกันทั่วบ้านทั่วเมือง โดยเฉพาะ H.M Blue เดินไปทางไหนก็ได้ยินเพลงนี้ ห้างร้านทั่วไปก็เปิด ใครเล่นคอนเสิร์ตก็เล่นเพลงนี้เป็นเพลงเปิด สำหรับนักกีต้าร์คลาสสิคคนไทย ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากบทเพลงพระราชนิพนธ์ที่เป็นตัวอย่างชัดเจนก็เช่น เบิร์ด ( เอกชัย เจียรกุล )  ผมเองก็ยอมรับว่า หลังจากHucky Eichelmann  อัลบัมชุดนี้ ( ในอีกหลายปี ) ก็เป็นจุดให้ผมลองเล่นกีต้าร์คลาสสิคเช่นกัน 

สำหรับผลงานของ ฮัคกี้ ไอเคิลมานน์  ผมเองมีเกือบทุกชุด โดยเฉพาะ Candlelight Blues, Sweet Words,Magical Melodies of Thailand   ผมชอบที่มีโน็ตเพลงขายมาด้วย  ความจริงผมอยากให้ศิลปินที่ออกผลงานขอให้มีโน็คเพลงขายหรือแจกมาด้วยนะ   เพราะถ้าคนเล่นได้ยิ่งนำไปเล่นซ้ำเท่ากับโปรโมทผลงานของเราไปด้วย     ฝากไว้ด้วยนะครับ

8.08.2556

ผลงานของ จอห์น วิลเลียมส์ ( John Williams )

สำหรับในหน้านี้ ผมจะทยอยลงปรับปรุงลำดับผลงานของจอห์น วิลเลียมส์ ( John Williams ) โดยเฉพาะการบันทึกเสียงต่างๆ และคิดว่ากว่าจะทยอยลงหมดคงใช้เวลาร่วมเดือนนะครับ เพราะ จอห์น วิลเลี่ยมบันทึกผลงานไว้เยอะเหลือเกิน ท่านใดสนใจทำ Bookmark เอาไว้แล้วคอยติดตามไปเรื่อยๆนะครับ

Guitar Recital , John Williams
Guitar Recital Vol 1  , 1958
Guitar Recital Vol 1
  •  J.S. Bach: Cello Suite No. 3 in C Major BVW 1009 Trans. Duarte
    Prelude
    Allemande
    Courante
    Sarabande
    Bourrées 1&2
    Gigue

  •     Isaac Albéniz: La Torre Bermeja
  •     Manuel Maria Ponce: Three Mexican Folksongs
    La Pajarera
    Por ti mi corazon
    La Valentina

  •     Heitor Villa-Lobos: Etude No. 1 in E Minor
  •     Jorge Gomez Crespo: Norteña
  •     John Duarte: Variations on Catalan Folk Song 'Canço de llabre' op. 25 

Guitar Recital
Guitar Recital 2 , 1958
   Guitar Recital Vol 2
  •     J.S. Bach: Cello Suite No. 1 in G Major BVW 1007 Trans. Duarte
    Prelude
    Allemande
    Courante
    Sarabande
    Menuets 1&2
    Gigue

  •     Domenico Scarlatti: Sonata in E Minor L352 Trans. Segovia
  •     Alessandro Scarlatti: Gavotte Trans. Segovia
  •     Fernando Sor: Variations on a Theme by W.A. Mozart Das Klinget so herrlich, Op. 9
  •     Andrés Segovia: Oración
  •     Andrés Segovia: Estudio
  •     Paquita Madriguera: Humorada
  •     Alexandre Tansman: Barcarolla
  •     Enrique Granados: La Maja de Goya Trans. Llobet
  •     Antonio Lauro: Vals Criollo
Folk Songs
Folk-Song ,1998
Folk-Song  Wilfred Brown Tenor , John Williams Guitar

  •     English: The Wealthy Farmer's Son
  •     Appalacian: The Death of Queen Jane solo voice
  •     French: Le pont de Morlaix
  •     French: Le roi a fait battre tambour
  •     English: The Gentleman Soldier solo voice
  •     Danish: The Crow
  •     Welsh: David of the White Rock
  •     English: The Cherry Tree solo voice
  •     Appalacian: Poor Old Maid
  •     German: Muss i denn...?
  •     German: Maria im Dornwald
  •     English: Bingo
  •     Appalacian: The Nightingale
  •     English: The Unquiet Grave solo voice
  •     German: Das Weinhauerlied
  •     English: The Turtle-Dove solo voice
  •     Irish: My Love's an Arbutus
  •     Dutch: The Knifegrinder
  •     French: Catherine solo voice
  •     French: Noel nouvelet
  •     English: Death and the Lady
  •     English: The Country Farmer's Son



A Spanish Guitar
A Spanish Guitar , 1961
  • Federico Moreno Tórroba: Sonatina
    Allegretto
    Andante
    Allegro

  •     Federico Moreno Tórroba: Nocturno
    Fandanguillo
    Arada
    Danza

  •     Manuel Maria Ponce:
    Valse
    Theme varie et finale
    Twelve Preludes 

Sor: Twenty Studies
Sor: Twenty Studies ,1963
John Williams
Sor: Twenty Studies, Re-issue 1967
Sor: Twenty Studies
Recorded 1962 At Mozart Hall, Vienna
Side 1: Studies 1-13
Side 2: Studies 14-20

Der Gitarrist ,1975
Der Gitarrist  ( ชุดนี้เป็นภาษาเยอร์มัน แปลว่ามือกีต้าร์  น่าแปลกนะครับ ในList เพลง มี J.S Bach เพียงคนเดียวที่เป็นคนเยอร์มัน นอกจากนั้นเป็นนักประพันธ์ชาวสเปนทั้งนั้นเลยครับ )




  • J.S. Bach: Lute Suite No. 4 in E Major BWV 1006A Tr. Williams
    Prelude
    Loure
    Gavotte en rondeau
    Menuettes 1 & 2
    Bourrée & Gigue

  •     Isaac Albéniz: Sevilla (Suite española, Op. 47: no 3) Tr. Segovia
  •     Joaquin Turina: 
Fandanguillo, Op. 36 Soleares (Homenaje a Tárrega, Op. 69: no 2)
 Ráfaga, Op. 53

  •     Trad. Catalan: El Testamen de Amelia Tr. Llobet
  •     Manuel Ponce: Scherzino Mexicano Tr. Ramos
  •     Julio Sagreras: El Colibri Imitacion al vuelo del Picaflor

John Williams
Virtuoso Music For Guitar,1964
  • Niccolo Paganini: Grand Sonata in A major Tr. Williams
    Allegro risoluto
    Romanza
    Andantino variato
  •  Enrique Granados: Spanish Dances Op. 37, No. 5 Andaluza
  •  Heitor Villa Lobos: Etude No. 8 in C Sharp Major
  • Manuel de Falla: Homenaje Le tombeau de Claude Debussy ( เพลงนี้ผมตั้งข้อสังเกต ตาม Link )
  • Stephen Dodgson: Partita For Guitar
    Allegro con moto
    Molto vivace
    Adagio
    Allegro
  •     Mario Castelnuovo-Tedesco: Sonata for Guitar in D Major Op. 77 Omaggio a Boccherini - Fourth Movement Vivo ed energico

8.03.2556

John Williams ทำให้คนไทยเล่นคลาสสิคกีต้าร์มากขึ้น ?


จอห์น วิลเลียมส์ ( John Williams )

              มาถึงศิลปินในปัจจุบันอีกคนหนึ่งซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้กับ นักกีต้าร์คลาสสิคหลายๆคน เช่น     อาจารย์กีรตินันท์ สดประเสริฐ (อ.อ้วน) เคยให้สัมภาษณ์ไว้ในหลายๆครั้งว่าจุดเริ่มต้นหรือแรงบันดาลใจแรกมาจากการได้ยินเสียงกีต้าร์ของ จอห์น วิลเลียมส์ ( John Williams ) ในเพลง Recuerdos de la Alhambra  ของ F.Tarrega   และแน่นอนสำหรับในเมืองไทย อาจารย์ อ้วนก็ได้ทำหน้าที่ส่งทอด แรงบันดาลใจให้กับนักกีต้าร์คลาสสิคไทยอีกหลายคนให้เริ่มเล่น ,พัฒนาวงการและสอนกีต้าร์คลาสสิคจนมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ต่อยอดไปกันไปเป็นทอดๆ  ทำนองอย่างนี้จะเรียกว่า  John Williams  มีส่วนร่วมทางอ้อมในการทำให้วงการคลาสสิคกีต้าร์ในเมืองไทยมีการตื่นตัวก็ไม่ผิด  


จอห์น วิลเลียมส์ ( John Williams ) เป็นนักดนตรีในตำนานที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน 
ตามประวัติเกิดเมื่อ 24 เมษายน 1941 ใน เมลเบิร์น ( Melbourne ) ประเทศออสเตรเลีย ในปี 1952  ได้เริ่มเล่นกีต้าร์ตั้งแต่อายุ 11 ปี   ต่อมาครอบครัวได้ย้ายไปอังกฤษ ภายหลัง     พ่อของเขามีอาชีพเป็นทั้งนักกีต้าร์และครู ต่อมาเป็นผู้ก่อตั้ง London Guitar School, and Malaan  ส่วนแม่เป็นลูกครึ่งระหว่างออสเตรเลีย-จีน  และแน่นอนครูคนแรกคือพ่อของเขานั้นเอง  
เมื่ออายุได้ 11ปี เขาได้ศึกษากับ ครูใหญ่แห่งโลกกีต้าร์คลาสสิค อังเดร เซโกเวีย ( Andrés Segovia ) ในสถาบันดนตรีแห่งหนึ่งในอิตาลี ชื่อว่า Accademia Musicale Chigiana   หลังจากนั้นระหว่างปี 1956-1959 ได้ศึกษาด้านดนตรีต่อที่ Royal College of Music in London แต่เขาไม่ได้เรียนกีต้าร์นะครับ กลับไปเรียนเปียโนและทฤษฎีเพราะในขณะนั้นทางโรงเรียนยังไม่ได้เปิดสอนวิชากีต้าร์ 
จอห์น วิลเลียมส์
 John Williams and  AndresSegovia
มีบันทึกไว้ว่า  จอห์น วิลเลียมส์ ( John Williams ) ได้แสดงเปิดการแสดงดนตีขึ้นเป็นแรกที่ลอนดอนที่  Wigmore Hall เมื่อวันที่  6 พฤศจิกายน 1958 หลังจากนั้นไปปารีสในปี 1959,กรุงมาดริด 1961,ญี่ปุ่น 1962 และไปอเมริกาครั้งแรกในปี 1963 

ถ้าพูกถึงอัลบัมเพลงของจอห์น วิลเลียมส์คงคุยกันยาวเพราะออกมาเยอะเหลือเกินผมคิดว่าทั้งยอดขายและจำนวนอัลบัมคงเป็นเบอร์1 ในปัจจุบันนี้นะครับ นอกจากออกชุดเดี่ยวแล้วยังเคยออกร่วมกับศิลปินระดับโลกอีกหลายคนเช่น  Paco Pena และ  Julian Bream

ผมเองตอนซื้อ CDชุด the Guitarist John Willams มาฟังในครั้งแรกก่อนจะมาเล่นกีต้าร์คลาสสิคตอนนั้นผมสนใจบทเพลงที่บรรเลงเดี่ยวด้วยกีต้าร์แล้ว ด้วยประสบการณ์ไม่ถึงหรืออย่างไรไม่ทราบ ฟังได้แค่ครั้งสองครั้งเก็บเข้ากรุไปเลย

จอห์น วิลเลียมส์
the Guitarist John Willams

ในเวลาต่อมาผมเริ่มฟังเพลงที่บรรเลงโดยกีต้าร์คลาสสิคมากขึ้น  ในDVD ชุด The SEVILLE CONCERT  ก็ชอบอยู่หลายๆเพลงเช่น Seville, Usher Waltz , และ  Sakura Variation สำหรับประวัติและผลงานที่มากกว่านี้ผมต้องยกเป็นวันอื่นละครับ

จอห์น วิลเลียมส์
John Williams the Seville Concert

8.02.2556

BBC Music Magazine อีกตัวเลือกสำหรับคอเพลงคลาสสิค

เป็นนิตยาสารรายเดือนในเครือของ BBC โดยเนื้อหาหลักๆ เน้นไปที่ Classical Music จะมี  Wold Music หรือพวก Jazz ผสมบ้าง  ในเล่มก็จะมี CD เพลง Classical ติดมาด้วยครับ , นิตยาสารBBC Music Magazine  ต้องยอมรับว่าผมเองไม่ได้ซื้อมาอ่านทุกฉบับยอมรับว่ายังไม่เป็นคอคลาสสิคขนาดนั้น ส่วนใหญ่ดูเนื้อหาที่ปกก่อนถ้าสนใจจึงซื้อครับ    

แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจาก นิตยาสารฉบับนี้มี CD เพลงคลาสสิคติดมาด้วยในราคาปัจจุบัน 425บาท เป็นราคาที่ยอมรับได้ครับ  แต่ถ้าสนใจอ่านฟรีลองไปที่ ห้องสมุด TK PARK อยู่บริเวณชั้น G เซ็นทรัลเวิลด์ก็ได้ครับ ( เสียค่าผ่านประตูหรือสมัคสมาชิครายปี ) ผมเข้าไปดูแล้วหนังสือหลายหลายดี 

เพลงคลาสสิค
ตัวอย่าง Magazine พร้อม CD

7.08.2556

ผมแนะนำให้อ่าน Pianist Magazine

PIANIST  MAGAZINE  อีกหนึ่งนิตยาสารต่างประเทศที่ผมติดตามซื้อหามาประจำทุกเดือนครับ , เป็นนิตยาสารสำหรับนักเปียโนตามชื่อนั้นแหละครับ ในนิตยาสารมี Sheet Music พร้อม CD ประกอบ ราคาขายปัจจุบันที่495 บาท ราคานี้ผมคิดว่าซื้อCD มาฟังเดือนละเล่น ( แผ่น )  ทำให้รู้จักเพลงหลากหลาย ( มากกว่าฟังจากเพลงที่เล่นโดยกีต้าร์อย่างเดียว )

บทเพลงได้บรรเลงโดยเปียโนตัวเดียว ส่วนใหญ่เป็นเพลงคลาสสิค มี Jazz บ้างแต่น้อยกว่าคลาสสิค      สำหรับนักเปียโน ในหนังสือได้ระบุระดับความยาก เช่น Beginner/ Intermediate หรือ Advance พร้อมเทคนิคการเล่นเปียโนประกอบเล็กน้อย  , เพลงเรียกได้ว่าส่วนใหญ่มีความไพเราะห์เป็นอย่างมาก 

 สำหรับผมแล้วการอ่านโน็ตเพลงประกอบการฟังเสมือนการฝึกหูไปในตัว อยากให้นิตยสารกีต้าร์จัดทำรูปแบบอย่างนี้บ้างครับ     ถ้าคุณเป็นนักฟังเพลง/ นักดนตรีผมแนะนำให้ลองซื้อมาอ่านดู  ( มีขายในร้านKinokuniya )

June-July 2013

April-May 2013


Dec-Jan 2013

Feb-March 2013

Oct-Nov 2012

Aug-Sept 2012

5.27.2556

Symphony Thai Magazine น่าเสียดายเลิกตีพิมพ์ไปแล้ว

เมื่อหลายวันก่อนผมเดิมผ่านร้านหลังสือเก่า ( มือสอง ) ตามประสานักอ่านก็เข้าไปค้นหลังสือต่างๆ พบ นิตยาสารสองเล่มของ Symphony  Magazine พิพม์เมื่อปี 03-04 ปัจจุบันเข้าใจว่าคงไม่ได้พิมพ์จำหน่ายแล้ว ก็คงน่าเสียดายอย่างยิ่ง  เพราะเนื้อหาเป็นประโยชน์ต่อวงการคลาสสิคเมืองไทยเป็นอย่างมาก


classical music

เล่มที่ 1 ของเดือน Apr-May 2003 Issue 3 Vol 1  ปกเป็นรูป Lorin Maazel , Cover Story จะเป็นเรื่อง Broadway Home Of  The Musical

ยกตัวอย่างอย่างบทความที่ผมชอบในเล่มนี้เช่น เรื่อง Canada 'S Tragic Genius พูดถึงนักเปียโนอัจฉริยะ ที่ชื่อ Glenn Gould บทความอ้างว่า "ผลงานดนตรีที่สามารถจะบดบังรัศมี แม้แต่ J.S Bach ได้ " แสดงว่า ขั้นอัจฉริยะทางดนตรีจริงๆ  ส่วนมุมมองของเขาต่อนักดนตรี แนว คลาสสิคในตำนาน ก็น่าสนใจไม่น้อย  เช่น


Chopin : เขาไม่ชอบโชแปงเพราะ โชแปงนั้นเขียนแต่เพลงสั้นๆและไม่รู้จักพัฒนาความคิดของตัวเอง และสีสันของ โชแปงขึ้นอยู่กับ pedalเท่านั้น

Schumann :   ชูมันน์ ที่จริงเป็นคนที่ไม่มีความสามารถในการเล่นเปียโน คงต้องยกนิ้วให้กับภรรยาที่แสนเก่งของเขา เป็นเพราะว่าเธอยอมเล่นเพลงอันน่าเบื่อหน่ายของเขา ไม่เช่นนั้นเราคงจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ชูมันน์ มีตัวตน

Beethoven Piano Sonata : Sonata สามชิ้นสุดท้ายถึงแม้จะสั้นแต่ก็มีตวามสวยงามเสมือนจุดที่ต้องหยุดชมวิวของนักเดินทาง......
เบโทเฟน นั้นได้ถูกครอบงำโดยเรื่องเหลวไหล และความขัดแย้งยิ่งกว่าหนังสือนิยายใดๆ 

Mozart : ที่จริงแล้วผมสนุกทุกครั้งที่ได้เล่น โซนาตา ของ โมสาร์ท ผมมีความเพลินเพลินกับการที่นิ้วมือได้วิ่งขึ้นวิ่งลง ตามคีย์ของเปียโน โดยที่scales และ arpeggios ต่างๆได้ถูกใช้อย่างเป็นประโยชน์ที่สุด

Richard Strauss : ในความขัดแย้งของสังคมและความสวยงามของศีลธรรมของวันนี้ เขาเป็นบุุคคลที่มีความสำคัญยิ่งนัก- ความสบสนที่ไมาสามารถจะแก้ไขได้นั้นได้ผุดขึ้นมาเมื่อเราพยายามที่จะกักกันคามกดดันของโชคชะตาอันสวบงามที่ถูกกำหนดขึ้นด้วยตัวของเราเอง โดยไม่มีผลบวกโดยรวมแต่อย่างไร Strauss นั้นสามารถที่จะผลิตความรู้สึกที่มีกำลังเป็นอย่างยิ่งโดยใช้วิธีที่เรียบง่าย และบางทีก็โกหกกันแบบดื้อๆ

Barbra Streisand : นอกจาก Elisabeth Schwarzkopf แล้ว บาร์บรา สไตรแซนด์ เป็นอัจฉริยะแห่งเสียงที่ผมเคยได้ยินมา


ผลงานแผ่นเสียงชุดแรกกับค่าย Columbia Records ชื่อชุด Bach : The Goldberg Variation  " เป็นบทเพลงซึ่งไม่ให้ความสำคัญกับจุดเริ่มต้นหรือจุดจบของเพลง ในตัวบทเพลงไม่มีจุดสูงสุดหรือจุดสรุป " 

นักกวีชาวฝรั่งเศส Baudlaire กล่าวไว้ว่า " เสมอเหมือนวางอยู่อย่างแผ่วเบาบนปีกของลมที่พัดมาโดยไม่ได้ตั้งใจ "
Glenn Gould
Bach : The Goldberg Variation


เล่มเล่มที่สองตามรูปด้านล่างนี้    ป็นฉบับ Dec03-Jan 04และเป็นฉบัับครบรอบ 1 ปี เเรื่องที่ผมชอบคือ เยี่อมบ้าน อาจารย์ ปิยะพันธ์ สนิทวงศ์ ซึ่งเป็นศิลปินแห่งชาติสาขาการแสดงดนตรีสากล 2541

classical music

บทความเรื่อง Canada 'S Tragic Genius ผมคัดลอกบางส่วนมาจากหนังสือเลย  เพราะคิดว่าหนังสือ / วารสาร ได้เลิกผลิตไปแล้ว และบทความเป็นประโยชน์ และน่าสนใจจริงๆ น่าจะได้รับการเผยแพร่ต่อไป  ถ้ายังมีลิขสิทธิ์โปรดแจ้ง มายังผมได้ครับ

น่าเสียดายครับ น่าจะมีนิตยสารดนตรีแนวนี้ออกมาเยอะๆหน่อย ปัจจุบันผมเข้าใจว่า นิตยสารแนวดนตรีคลาสสิคตะวันตกในเมืองไทยน่าจะไม่มีเลยนะครับ

4.28.2556

เพลงดนตรี ( Music Journal ) 2010 ?

วันนี้ผมซื้อนิตยสารดนตรีมาสองเล่มครับ   คือนิตยาสารเพลงดนตรี ( Music Journal )  บนแผงร้านซีเอ็ด พบว่า ปก Willis Conover แจ็สฮีโร่ตัวจริง เหลืออยู่ 2 เล่มและ ปกดนตรีเขมรเหลืออยู่เล่มเดียว  

สาเหตุที่ผมซื้อ ปก Willis Conover แจ็สฮีโร่ตัวจริง เนื่องมาจาก พบบทความเรื่อง มโหระทึกครับ อันนี้จากที่ผมชอบเที่ยวตามพิพิธภัณฑ์มาหลายที่ กลองมโหระทึกก็เป็นส่วนหนึ่งที่ผมชอบถามเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ตามท้องถิ่นต่างๆ   บางคำถามอาจฟังดูคล้ายๆลองภูมิแต่ไม่ใช่หรอกครับ ถามเพราะไม่รู้หรือไม่มั่นใจต้องการคำยืนยัน  ส่วนใหญ่ตอบคำถามได้ไม่ครอบคุม บ้างอาจจะไม่จบด้านนี้โดยตรง บางครั้งก็ว่า กรมศิลปกรมาอบรมสำหรับพออธิบายได้ว่าอะไรเป็นอะไร  พอได้อ่านเล่มนี้ก็พอตอบคำถามบางประการให้ผมได้ครับ เช่น ทำไมต้องมีกบอยู่บนหน้ากอง? กองจะใช้ตีตอนไหนบ้าง?  เสียอย่างเดียวตอนนี้ยังไม่เคยได้ยินเสียงกองมโหระทึกจริงๆเสียที

แจ๊ดฮีโร่ตัวจริง
นิตยาสารเพลงดนตรี  Vol 15 Mar 10, แจ๊สฮีโร่ตัวจริง

ดนตรีเขมร
นิตยสารเพลงดนตรี Vol 16 Otc 10 , ดนตรีเขมร
 ส่วนฉบับดนตรีเขมร ซื้อมาเพื่อศึกษาเพื่มเติมหลังจากผมเคยไปเขมร เที่ยวตามปราสาทต่างๆ( เคยซื้อซื้อซอเขมร มาลองเล่น แต่ สายหลุดและพังไปอย่างร็วดเร็ว ) เคยได้ฟังดนตรีเขมรก็สะกิตต่อมสนใจขึ้นมาเหมือนกัน รูปปกฉบับนี้ เป็นรูปคนตีเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งคล้ายๆฆ้อง คงนำรูปมาจากปราสาทที่ไหนสักทีหนึ่ง

ทั่งสองเล่มยังไม่ได้อ่านบทความอย่างละเอียด แต่พบว่า เป็นหนังสือของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ( มหาวิทยาลัยอื่นๆนะจะทำบ้างนะ เราจะได้มีบทความด้านดนตรีอ่านหรืออย่างน้อยมีทางเลือกให้เลือกเสพได้ ) มี ร.ศ ด.ร สุกรี เจริญสุข เป็นบรรณาธิการอำนายการ และ นิวัต กองเพียร เป็นบรรณาธิการบริหาร ( คนหลังผมติดตามบทความและภาพบ่อยๆ )

ผมมาดูปีทีผลิตหนังสือก็อดเป็นห่วงไม่ได้ครับ ปก Willis Conover แจ็สฮีโร่ตัวจริง ( Vol 15,No.7 Mar 10 ), ปก ดนตรีเขมร ( Vol .16,No.2  Oct10 )  ทำไมค้างนานจัง

4.18.2556

สาเหตุให้ดนตรีไทยไม่เป็นที่นิยม

เมื่อวันก่อน ผมพาลูกสาวไปสมัครเรียน ที่โรงเรียนแห่งหนึ่งในต่างจังหวัดครับ ก็กำลังคิดว่า อยากให้ลูกเรียนอะไรในช่วงหยุดปิดเทอมดี  ใจผมเองอยากให้เรียนศิลปะการต่อสู้ หรือ ดนตรีอะไรพวกนี้

เครื่องดนตรีไทย
กระจับปี่
บังเอิญขากลับพบว่าหน้าร้านสอนตรีไทยแห่งหนึ่ง มีเครื่องดนตรีไทยตั้งแสดงอยู่ในตู้หน้าร้าน ซึ่งน่าสนใจทีเดียว  เมื่อเข้าไปถามอาจารย์ ซึ่งกำลังสอนเด็กอยู่ ก็ใจดีให้ผมทดลองจับ ดีด ในความรู้สึกของผม รู้สึกว่าเสียงของเครื่องดนตรีชนิดนี้ อาจจะสามารถนำไปเล่นในแนว Baroqueได้ โดยอาจต้อง ปรับตั้งสายใหม่หรือตั้ง  Scale ใหม่  เลยถามอาจารย์ ทำให้ทราบว่าเครื่องดนตรีชนิดนี้ เรียกว่า กระจับปี่ ซึ่งปัจจุบันไม่ค่อยมีคนนิยมเล่น ( ดังนั้นคนสอนก็น้อยไปด้วย   ) ถ้าจะเรียนอาจต้องไปดูในกรมศิลปากร 

อาจารย์ถามผมว่าจะเรียนไปทำไม    ก็ตอบไปว่าผมเล่นกีต้าร์อยู่ อยากนำบทเพลง คลาสสิค มาลองเล่น บนกระจับปี่ดู   ก็ได้รับคำแนะนำว่า     " เครื่องดนตรีแต่ละชนิดก็เหมาะกับดนตรีแต่ละแบบ " ตรงนี้ผมไม่ค่อยยอมรับเท่าไร เนื่องจากยังไม่ได้ลอง และ ผมยังคิดว่า บทเพลง Lute สามารถนำมาเล่นบนกีต้าร์ได้ หรือ บทเพลงสำหรับไวโอลินสามารถนำมาแปลงเล่นบนกีต้าร์ได้ หรือ ทำนองดนตรีไทยก็สามารถนำมาเล่นล้อบนกีต้าร์คลาสสิคได้ ดูตัวอย่าง กีต้าร์ลายไทยของ อ.กมลนั้นสิ   ดังนั้นบทเพลงตะวันตก ก็น่าจะนำมาเล่นบนเครื่องดนตรีไทยได้นะ   


ช่วงบ่ายกลับมาที่บ้านรายการคุณพระช่วยได้นำ อ.อภิชัย พงษ์ลือเลิศ มาแสดงการบรรเลงกระจับปี่อีก ได้ฟังเสียงแล้วค่อนข้างมั่นใจ ว่าสามารถปรับ เพื่อทดลองเล่นเพลง ทางตะวันตกในบางบทเพลงได้ครับ 

อีกประเด็นหนึ่ง ดนตรีไทยไม่ได้ลองแนวเพลงใหม่ๆ หรือจำกัดในรูปแบบเดิมมากเกินไปทำให้ลดความน่าสนใจ หรือเป็นสาเหตุให้ดนตรีไทยไม่เป็นที่นิยมหรือไม่ ?