หน้าเว็บ

www.mi-favorita.blogspot.com

www.mi-favorita.blogspot.com

12.14.2554

Spruce-ToneWood

Spruce เป็นไม้สน สายพันธุ์ที่เหมาะสำหรับนำมาทำกีต้าร์พบได้ทั่วไปในยุโรป ยกเว้นเดนมาร์ก ,เนเธอร์แลนด์ และ Westem Russia.เขาบอกว่าไม้ที่ดีที่สุดชนิดนี้ ต้องอยู่บนภูเขาสูง แถบยุโรปตอนกลาง เช่น เยอรมัน,โรมาเนีย และประเทศที่หนาวเย็น ส่วนไม้ที่ไม่ควรนำมาทำเลยก็เป็นไม้อยู่ในโซน ชายทะเล หรืออากาศร้อนเพราะ เป็นไม้ที่โตเร็ว ทำให้วงไม้กว้างครับ
หลังจาก ได้ไม้มาแล้วใช่ว่าจะมาทำ กีต้าร์ได้เลยนะครับ จะต้องทิ้งไว้อีก 8-10ปีเป็นอย่างน้อยมีบางตัวเก็บไว้ถึง 40ปี ส่วนราคาก็คงตามอายุละครับ
ส่วนสีจะออกขาวๆ ( White in color ) เมื่อทำให้แห้งจะออกเป็นสีเหลืองทอง ( Golden-yellow )ตามรูปด้านล่าง 

German Spruce

Bearclaw Spruce

Englemann Spruce.
Sitika Spruce
Adirondack(Red ) Spruce




German-Spruce
รูปกีต้าร์ด้านบน ไม้หน้าเป็น German Spruce  ผมนำมาจากWeb ช่างทำกีต้าร์ ชื่อ Tom bills custom guitars ผมเข้าไปดูแล้วชอบมาก สวยทุกตัว 

เรื่องไม้ Spruce คงมีเรื่องพูดอีกเยอะ เช่นเรื่องเสียง ,ราคา ใครมีประสพการณ์ช่วยเขียน Comment มาบ้างนะครับ
 

11.26.2554

ไม้ที่นิยมนำมาทำ กีต้าร์

อะไรมีผลต่อบุคลิกเสียงของกีต้าร์มากที่สุด คงหนีไม่พ้นไม้ที่ใช้ทำ , กำลังพูดถึง Acoustic Guitar นะครับ  ไม้ที่ผมพอรวบรวมเป็น List เบื้องต้นได้ตามด้านล่างครับ

  • Spruce
  • Indian Rosewood 
  • Brazillan and Honduran Rosewood 
  • Western Red Cedar 
  • Sequoia or Redwood 
  • South American Cedar
  • Ceylon Ebony 
  • African Ebony 
  • Maple 
  • Sapele
  • Sycamore
  • Cypress
  • Mahogny
  • Koa
อีกทั้งไม้เหล่านี้ ต่อไปคงหากันยากขึ้น ไม้ดีๆช่างทำกีต้าร์ก็ต้องประมูลแข่งกัน ช่างกีต้าร์บางคนก็ซื้อมาเก็บไว้เพราะบางประเทศก็ห้ามนำออกแล้ว ต่อไปราคาจะสูงขึ้นไปเรื่อยๆ สำหรับรายละเอียดของไม้แต่ละชนิดผมค่อยนำมาคุยต่อภายหลังครับ  ใครพอมีความรู้ด้านนี้ ก็คอมเม้นท์ ในช่องแสดงความคิดเห็นได้นะครับ

11.05.2554

Portable for Guitarists

Yamaha SLG100 NW
วันนี้ขอนอกเรื่อง ไม่เกี่ยวกับดนตรีแต่เกี่ยวกับอุปกรณ์ ( พกพา ) ซักหน่อยครับ ตามที่เห็นเป็นกีต้าร์ของผมเองครับ เป็น Yamaha Silent รุ่น SLG 100 NW สายไนล่อนครับ ตอนซื้อมาตั้งวัตถุประสงค์สำหรับเอาไว้เดินทาง   สำหรับผมเดินทางบ่อยๆจะหิ้วกระเป๋าเสื้อผ้า 1 ใบ , Notebook 1 ตัว คงหิ้วกีต้าร์ตัวปกติไปด้วยคงไม่ไหวแล้ว   ข้อดีของกีต้าร์ตัวนี้ คือ โครงสามารถถอดใส่กระเป๋าของเขาไปได้เลยน้ำหนักเบา และที่สำคัญมีหูฟังไว้เล่นตามโรงแรมกลางคือไม่เป็นที่รำคราญของชาวบ้าน  ส่วนAmp ขนาดเล็กผมเพิ่งได้มาจากสุราษฎร์ผ่านไปโดยบังเอิญ Made in China ราคา800 บาท เสียงไม่ดียกเว้นพวก Rocker อาจชอบก็ได้เพราะมี Over drive มาให้ด้วย ตัดวินใจซื้อเพราะพกพาสะดวกครับ ( ใส่หูฟังนานๆ ทำให้สุขภาพหูเสียได้ )

ภาพนี้รีบถ่ายตอนเก็บเสื้อผ้าหนี้ภัยน้ำ ชีวิตไม่แน่ไม่นอนใครจะคิดว่าเราจะเจอเหตุการณ์อย่างนี้

10.07.2554

BWV Bach Number Index

ลำดับผลงาน ของ บาค ( Johann Sebestian Bach , โยฮันน์ เซบัสเตียน บาค )  ขึ้นต้นด้วยอักษรย่อ คือ BWV ซึ่งมาจาก Bach-Werke-Verzeichnis ( ฺBach Work Cataloque ) , BWV เริ่มมีมาตั้งแต่ปี 1950 โดย Wolfgang Schmieder เป็นนักวิชาการด้านดนตรีชาวเยอรมัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ บ่งชี้ ผลงานของ บาค   ( Thematic-systematic cataloque of musical works of Johann Sebastian Bach )

การเรียงหมายเลข Schmieder ไม่ได้เรียงตามลำดับ ก่อนหลังการประพันธ์ แต่ เรียงตาม Thematic catalogue ( คือ ทำเนียบ ที่รวบรวมผลงานการประพันธ์ ของนักแต่งเพลงไว้อย่างเป็นระบบ โดยใส่หมายเลขกำกับผลงานแต่ละชิ้น ) เช่น อาจจะ เรียงจากเพลงร้องก่อน หลังจากนั้นก็เริ่มเรียงจากผลงานสำหรับ Organ หรือ keyboard เป็นต้น

นอกจากการรวบรวมให้เป็นระบบแล้ว ยังมีประโยชน์ในการอ้างอิงด้วย อย่างเช่นผม เพิ่งไปญี่ปุ่น เจอ ปกCD ของ บาค ชุด Everyday BACH  เขาทำ 7 แผ่นสำหรับฟัง 7 วันเป็นภาษาญี่ปุ่นทั้งหมดเลย   ถ้าไม่มีการอ้างหมายเลขไม่มีทางรู้เลยครับ ว่ามีเพลงอะไรบ้าง 
อย่างเช่น ผมอยากฟังเพลง Passacaglia and Fugue in C minor  ถ้าดูจากระบบหมายเลข คือ BWV 582 ก็จะรู้ว่า เป็นเพลงที่ 5 สำหรับวันพุธ เป็นต้น     


9.30.2554

Opus in Music

Opus number มาจากภาษาลาติน แปลว่า ทำงาน,แรงงาน,  เป็นคำย่อของ Opera และ Opuses ใช้ในการอ้างอิง หรือบ่งชี้ ผลงาน ของนักประพันธ์แต่ละท่าน หรือใช้บ่งชี้ Set การทำงานของ ผู้ประพันธ์แต่ละท่านก็ได้ อย่างเช่น Opus.9  ของโชแปง มี 2 ผลงาน คือ Opus.9 No1 และ Opus.9 No 2 ( หมายเลข 1 และ 2 )    ลำดับผลงาน ในสมัยก่อนอาจจะไม่ได้เรียงตามลำดับการ แต่งเพลง ก่อนหลังนะครับ แต่อาจจะ ลำดับจากการตีพิมพ์หรือ มีผู้รวบรวมขึ้นภายหลัง แล้วระบุ หมายเลขไปให้ก็ได้

 คำว่า Opus พบว่าใช้ในช่วง ศตวรรษที่สิบเจ็ด ( ค.ศ1600 ) เมื่อนักประพันธ์ ใช้ คำว่าOpus เพื่อระบุผลงาน , ใน ศตวรรษที่สิบเก้า ( ค.ศ 1800 ) สำนักพิมพ์ เริมใช้ Opus Number เมื่อตีพิมพ์ ผลงานของศิลปิน โดยจัดเป็นกลุ่มผลงาน ส่วนผลงาน ที่ไม่ได้ตีพิมพ์ก็จะไม่มี หมายเลขผลงาน ดังนั้นเราจะเห็น เพลงในสมัยนั้นบางเพลง ไม่มีชื่อ Opus กำกับอยู่ บางส่วนอาจสูญหายไปบางส่วนถูกนำกลับมาเล่นกันใหม่  ในปัจจุบันนี้เราไม่ค่อยเห็น นักประพันธ์ เป็นชื่อลำดับผลงานแล้วครับ เนื่องจากนิยมใส่ ชื่อเพลงไปเลย     แต่ถ้าใครจะประพันธ์แล้วใส่ Opus ในปัจจุบันก็ไม่ผิดกฎิกาแต่อย่างใดครับ

Classical Guitar of Fernando Sor

List รายชื่อเพลง
สำหรับบทเพลงสำหรับกีต้าร์ ผมขอยกตัวอย่าง Fernando Sor นักประพันธ์และนักกีต้าร์ ชาวสเปน ( 1778-1839 ) จะเห็นว่า มีคำว่า Opus ทั้งหมดเลยครับ

9.29.2554

คำย่อของลำดับ ผลงาน ( เพลง )

Goran Sollscher , J.S Bach:Suites sonata
ด้านใน ยังมีคำอธิบายอีกหลายแผ่น

ปกหลัง
คนที่เริ่มศึกษา เพลงใหม่ๆโดยเฉพาะบทเพลงคลาสสิก คงเจอ คำย่อลำดับบทเพลงแบบแปลกๆ บ้างนะครับ เช่น
  • BWV 565  คือชื่อ เพลง Toccata & fugus in D เลข 565 คือลำดับ บทเพลงที่ 565 ของ บาค BWV ย่อมาจาก Bach-Werke-Vereichnis ( Bach Work Catalogue )
  • K.331 ,Rodo Alla Turca  ชื่อเพลงคือ Rodo Alla Turca เป็นลำดับ บทเพลงที่ 331 ของโมสาร์ท K หรือบางครั้ง เจอคำว่า KV ซึ่งย่อมาจาก Kochel Verzeichnis เป็นชื่อคนที่รวบรวมผลงานของโมสาร์ท
  • Op.ย่อมากจาก Opus Number ลำดับผลงานเพลง
คราวหน้า เวลาอ่านปก CD ลองสังเกตดูครับ

9.26.2554

John Field Father of Romantic Nocturne

Father of Romantic Nocturne
ไหนๆ ก็ เขียนเรื่อง Nocturneของ โชแปง แล้ว เลยเขียนประวัตินักดนตรีที่มีอิทธิพลต่อโชแปงซะหน่อยแล้วกัน เขาชื่อ John Field เป็นชาวไอริช ( 5 September 1782 – 23 January 1837 )เกิดในครอบครัวนักดนตรี เป็นทั้งนักPiano ,นักประพันธ์ และ ครู  เกิดใยยุค คลาสสิกและเสียชีวิตยุคโรแมนติก  เขาเขียน Nocturne No.1 เมื่อปี 1812
ตามประวัติทางดนตรีแล้วถือว่า Nocturne ถูกเขียนเป็นเรื่องเป็นราวเป็นครั้งแรกดังนั้นจึงถือว่าเป็น Father of the Romantic Nocturne ด้านล่างเป็น List ชื่อเพลง Nocturne ที่เขาแต่งขึ้น


Nocturne for piano (12) in E major
Nocturne for piano (7) in A major
Nocturne for piano No. 1 in E flat major
Nocturne for piano No. 2 in C minor
Nocturne for piano No. 3 in A flat major
Nocturne for piano No. 9 in E flat major
Nocturne for piano No. 4 in A major
Nocturne for piano No. 5 in B flat major
Nocturne for piano No. 6 in F major
Nocturne for piano No. 7  in C major
Nocturne for piano No. 8  in E minor
Nocturne for piano No. 10 in E major
Nocturne for piano in C major "Le troubadour"
Nocturne for piano No. 11 in E flat major
Nocturne for piano No. 12 in G major
Nocturne for piano No. 13  in D minor
Nocturne for piano No. 14  in C major
Nocturne for piano No. 15 in C major
Nocturne for piano No. 16  in F major
Nocturne for piano in B flat major
Nocturne for piano "Dernière pensée" (lost)

John Field
Philharmonic Hall ,c 1835
ในปี1902 เขาได้ทัวร์คอนเสิร์ต เริ่มจากปรารีสและจบลงที่ St Petersburg ( รัสเซีย ),  มีประวัติว่า John Field เคยมาแสดงที่ Philharmonic Hall หลังจากแสดงจบ Field  กลายเป็นที่รักของสังคมที่ทันสมัย แห่ง St Petersburg

 ยังมีเพลงเอื่นๆนอกเหนือจากนี้อีกมากมาย ซึ่งไม่ได้นำมาลงไว้ในที่นี้  ตามที่เคยเขียนไว้ก่อนหน้านี้ Field มีอิทธิพลมากมายต่อวิธีการเขียนเพลงของโชแปงดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าไม่มี Nocturne ของ Fieldก็ไม่มี Nocturne ของ  โชแปง เช่นกัน
   

9.05.2554

ผมรู้จัก Nocturnes เพราะโชแปง


ก่อนอื่นก็สารภาพก่อนครับ  ผมฟัง Op.9 No.2 อยู่นาน( หลายปีมาแล้ว ) รู้สึกว่าเป็นเพลงที่มีความสวยงามพริ้วไหวมีเสน่ห์ ทราบชื่อคนแต่งแต่ไม่ทราบชื่อเพลงครับจนหาชื่อเพลงเพื่อเล่นบนกีต้าร์เลยทราบว่าเพลงนี้จัดอยู่ในชุด Nocturneเป็นผลงานหมายเลข 9 หมายเลข 2 ครับ  แต่ไหนๆก็ไปหาชื่อเพลงมาแล้วก็เลยเขียนผลงาน Nocturnes อื่นๆของโชแปงไปด้วยเลย
Op.9 No.2 ถือว่าเป็น Mi-Favorita  ของผมเหมือนกันและก็คงเป็นเหมือนหลายๆคนส่วนใหญ่ก็จะชอบเพลงนี้เหมือนกัน 

List ชื่อเพลง Nocturne ของ โชแปงทั้งหมดมีดังนี้
  • Op. 9 No.1 in Bb minor  , Composed 1830-1832 , Published 1833
เพลงนี้ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกใน ฝรั่งเศส ,  เยอรมนีและอังกฤษ โดยได้ประพันธ์บางส่วนในเวียนาและเสร็จสมบูรณ์ในฝรั่งเศส   
Marie Pleyel
Op.9 ทั้งหมายเลข 1-3  ( dedicated to ) อุทิศ ให้แก่ Marie Pleyel นักเปียโนชาว เบลเยี่ยม 
  • Op.9 No.2 in Eb minor  , Composed 1830-1832 , Published 1833
เพลงนี้นักวิจารณ์บอกว่ารูปแบบคล้ายๆ เพลงของ  John Field ชื่อเพลง Nocturne No. 9 ใน Keyเดียวกันด้วย ลองหาฟังดูนะครับ , คอกีต้าร์หาฟังได้ในVersion ที่ Tarrega นำมาเรียบเรียงเล่นกับกีต้าร์ได้ครับ
  • Op.9 No.3 in  B minor  , Composed 1830-1832 , Published 1833
  • Op.15 No.1 in F major  , Composed 1830-1832 , Published 1833
Ferdinand Hiller
Op.15 ทั้งหมายเลข 1-3 อุทิศให้กับ  Ferdinand Hiller ชาวเยอรมัน เป็นนักแต่งเพลง , conductor and music director.
  • Op.15 No.2 in  F# major  , Composed 1830-1832 , Published 1833
  • Op.15 No.3 in  G minor  ,Composed 1833 , Published 1833
  • Op.27 No.1 in  C# minor  , Composed 1835 , Published 1835
OP.27 ทั้งสองหมายเลข อุทิศเพลงนี้ให้กับ Countess d’Apponyi ภริยาของเอกอัคราชฑูตออสเตรียประจำกรุงปรารีส ซึ่งเป็นคนเดียวที่ชักนำ Johann Strauss เจ้าพ่อเพลง วอลซ์ เข้าสู่ปารีสในปีเดียวกัน 
  • Op.27 No.2 in  Db major  ,Composed 1835 , Published 1837
  • Op.32 No.1 in  B major   ,Composed 1837 , Published 1837 
OP.32 ทั้งสองหมายเลข อุทิศเพลงนี้ให้กับ Madame la Baronne  
  • Op.32 No.2 in Ab major  , Composed 1837 , Published 1837
  • Op.37 No.1 in G minor  ,Composed 1838 , Published 1840
  • Op.37 No.2 in G major  , Composed 1839 , Published 1840
  • Op.48 No.1 in C minor  , Composed 1841 , Published 1841
OP.48 ทั้งสองหมายเลขอุทิศเพลงนี้ให้กับ  Laure Duperré
  • Op.48 No.2 in F# minor  , Composed 1841 , Published 1841
  • Op.55 No.1 in F minor  , Composed 1842-1844 , Published 1844
OP.55 ทั้งสองหมายเลข อุทิศเพลงนี้ให้กับ Jane Stirling เป็นนักเปียโนสมัคเล่นชาวสกอต เป็นทั่งนักเรียนและเพื่อน ของโชแปงเอง เธอได้พาโชแปงไป ทัวร์ที่อังกฤษและสกอตแลนด์ในปี 1848
Jane Stirling
  • Op.55 No.2 in Eb major  , Composed 1842-1844 , Published 1844
  • Op.62 No.1 in B major , Composed 1846 , Published 1846
OP.62 ทั้งสองหมายเลข อุทิศให้กับ Mdlle. R. de Konneritzและเป็น Nocturne สุดท้ายในช่วงที่เขามีชีวิตอยู่
  • Op.62 No.2 in E major ,Composed 1846 , Published 1846
  • Op.72  in E minor   ,Composed 1827-29 , Published 1855
  • Op.P1 No.16 in C# minor , Composed 1830 , Published 1870
Ludwika Chopin
เพลงนี้แต่งให้กับพี่สาวของโชแปง  Ludwika Chopin เป็นเพลงที่ Ludwika ใช้ exerciseก่อนศึกษาเพลง Piano Concerto No. 2 in F minor ( Chopin )
  • Op.P2 No.8 in C minor  , Composed 1837 , Published 1870 
ทั้ง Op.P1 No.16และ Op.P2 No.8 ถูกนำไปตึพิพม์หลังจากเจ้าของ บทเพลงเสียชีวิตไปแล้วถึง 26 ปี
John Fileld

จาก List รายการ ทำให้ทราบว่า โชแปง แต่งเพลง Nocturme สำหรับ Solo บน Pianoมากที่สุด  21 บทเพลง Key เพลงไม่ซ้ำกันด้วย อย่างนี้เรียกว่าอะไรดี ? รองลงมาเป็น John Filed ชาวไอริส 18 บทเพลง และ   Carl Czerny ชาวออสเตรีย 17 บทเพลง


Franz Liszt
Franz Liszt นักประพันธ์/เปียโน ยุคเดียวกันยืนยันว่า Nocturne ของโชแปง ได้รับอิทธิพลจาก Vincenzo  Bellini นักประพันธ์โอเปรา  (opera ) ชาวอิตาลี ( ในเพลง bel canto ) แต่หลายคิดว่า เขาผสม โครงสร้างทางดนตรี ของJohn Filed กับเสียงMelody ของโมสารท์ และแสดงออกในรูปแบบ อิทพลของ classic/romantic        อย่างไรก็ตามคำถามนี้ถ้าถามโชแปงผมเดาว่าเขาคงตอบว่า ได้รับอิทธิพล จาก John Filed ครับ

ในการพิมพ์แรกๆ ผลงานของโชแปงได้รับปฏิกิริยาหลากหลายจากนักวิจารณ์ หลายคนไม่ชอบผลงานของเขา อย่างไรก็ตามเมื่อเวลาผ่านไป หลายคนที่ไม่ชอบผลงานเขากลับมาติดตามอีกครั้ง 

    8.18.2554

    Nocturne for Night Music

    เวลาเจอเพลง ที่เขียนว่า Nocturne จะมีอะไรต่อท้ายก็แล้วแต่ เช่น OP.15 No.2 ให้นึกเพลง บรรเลงสำหรับกลางคืนครับ เพราะ Nocturne มาจากภาษาฝรั่งเศษ แปลว่ากลางคืน หรือเจอคำอื่นๆเที่เขียนคล้ายๆก็ให้ตีความหมายแบบเดียวกันเช่น  Noctunus ( ลาติน ), Notturno ( อิตาเลี่ยน )คำนี้พบว่าทางญี่ปุ่นก็นิยมใช้ครับ หรือภาษาอังกฤษก็เขียนว่า Noctunal         ทำนองส่วนใหญ่ ก็ไปทางสงบ , มีสมาธิ ให้นึกถึงกลางคืนในสมัยก่อนนะครับ แต่ก็ไม่แน่นอนเสมอไปขึ้นอยู่กับอารมณ์ผู้ประพันธ์เพลงแต่ละท่าน 


    Nocturne เริ่มปรากฏเป็นชื่อบทเพลงใน ศตวรรณที่ 18 โดยมีข้อสังเกตว่า โมสาทร์( Wolfgang Amadeus Mozart ) ก็มีชื่อเพลง Notturno in D , K 286 แล้ว

     พูดถึง Nocturne อีกคนที่ไม่กล่าวถึงไม่ได้เลยคือ โชแปง ( Frédéric Chopin )    โชแปง  ประพันธ์เพลง Nocturne ไว้ถึง 21 บท ในแต่ละบทเพลงก็ใช้ Key ไม่เหมือนกันเท่ากับแต่ง 21 เพลงใช้ถึง 21 Key !     ส่วนบทเพลงที่ผมประทับใจที่สุดก็ เป็น  Nocturne in E-flat major , Op.9 No.2  เพลงนี้ถึงแม้เขียนไว้สำหรับเปียโน ก็มีนักกีต้าร์หลายคน Transciption สำหรับเล่นบนกีตาร์ด้วย เช่น Francisco Tárrega หรือ Dilermando Reis อีกคนหนึ่งคือ Carl Henze ชาวเยอร์มัน ได้แต่งเพลงนี้สำหรับเล่นบนกีต้าร์ เป็นบทเพลงที่เล่นง่ายและมีความไพเราะอยู่ในตัว         

    พูดถึงเพลง Nocturne ส่วนใหญ่คนจะนึก โชแปง ( รวมทั้งผมด้วย ) แต่มี อีกคนที่ถูกมองว่าเป็น Father of the Romantic Nocturne เป็นชาวไอริช ชื่อ  John Field เอาไว้ผมจะเล่าให้ฟังทีหลังครับ

    8.08.2554

    สายเลือด Torres (Guitar Marker) ไปสู่นักฟุตบอลอาชีพ Fernando Torres ?

    Antonio de Torres
    ทอร์เรส มีชื่อเติมๆ ว่า Antonio de Padua Pedro Cayetano de Torres Junado เกิิดเมื่อ 13/6/1817 

    พ่อ ชื่อ Juan Ramon de Torres Garcia และคุณแม่ Maria del Carmen Jurado Garcia  

    ญาติฝั่งพ่อ 
    ปู่-ย่า Juan-Josep Torres Garcia และ Ana Petromila Garcia de Torres 
    ทวด ( พ่อ-แม่ ของ ปู่ ) Cristobal de Torres - Isabel Garcia
    ทวด ( พ่อ-แม่ ของ ย่า )  Nicolas - Antonio Garcia Gallardo-  Tuana de Torres 

    กลับมาดูญาติ ฝั่งแม่บ้าง 
    ตา-ยาย Antonio Jurado Vaca -Juana Petronila Sequna 
    ทวด ( พ่อ-แม่ คุณตา ) Cayetano Jurada - Josefa Vaca  
    ทวด ( พ่อ-แม่ คุณ ยาย ) Gregoria Gareia  - Luisa Sequra

    มีภรรยาคนแรก คือ  Juane Maria de Jesus de Haro ( 21/3/1821 -13/3/1845 )  
    1.  Maria Dolores Isdra Indalecia Torres Lopez ( 15/5/1836 - ? ) 
    2.  Jusefa Maria Torres Lopez (7/4/1839-1842 บางข้อมูลแจ้งว่า 1845 ) 
    3.  Jusefa Maria Torres Lopez ( 19/9/1842-2/5/1843 ) "คนที่สองและคนที่สามไม่ได้เขียนผิดนะครับ ลอกตามประวัติจริงๆ ถ้าได้ข้อมูลที่ปรับปรุงเมื่อไรจะรีบนำมาแก้ไขครับ"

    Josefa Martin Rosado ภรรยาคนที่สอง
    ภรรยาคนที่สอง ชื่อ Josefa Martin Rosado ( 9/5/1837-22/2/1883 )  มีบุตรด้วยกัน 5 คน ไล่ตามนี้ 
    Antonio de Torres บุตรคนที่ 3
    Matilde Torres Martin บุตรคนที่4

    1. Teodoro Juse Julian de la Santisma Trinidad Torres Martin ( 9/11/1860-24/4/1911 )
    2. Isbel Maria Ana Jusefa de la Santisima Trinidad  Torres Martin ( 19/11/1862-1860 )
    3. Antonio de Padua Julian de la Santisaima Trinidad  Torres Martin ( 9/1/1868-?  )
    4. Matilde Torres Martin ( 3/1872-31/1/1933 )  หน้าตาถอดแบบแม่มาเลยครับ
    5. Ana Torres Martin ( 1876-1902 )
    ไล่มาสี่รุ่นเลยครับ สังเกตว่าตั้งแต่รุ่น พ่อแม่ขึ้นไป เหมือนมีชื่อนามสกุลคล้ายๆกันซึ่งอาจเป็น ญาติห่าง ( เป็นความนิยมขอคนสเปนสมัย สองร้อยกว่าปีมาแล้วหรือเปล่า ต้องศึกษาต่อไปในอนาคตครับ )    สังเกตว่า คนสเปนสมัยก่อนจะมีชื่อซ้ำๆกันเยอะ เช่น ( พระแม่มาเรีย ) Maria ชื่อนี้เป็นที่นิยม Tarrega เคยแต่งเพลง ชื่อ Maria เหมือนกันแต่ไม่ได้ ระบุว่าให้คนไหนครับ ( เพราะ ชื่อนี้ เยอะเหลือเกิน ) เพลงนี้ต่อมาเป็นเพลงดังของ  Tarrega เพราะ คนชื่อมาเรียซึ่งมีจำนวนเยอะ อาจคิดว่าเป็นเพลงของตัวเองครับ , แอนโทนิโอ (Antonio )หรือ แอนนา ( Ana ) ก็มีซ้ำเยอะครับ
      ชั้นเหลน Juan Francisco Salvador และ Marian Romanillos ถ่ายที่ Almia 1992
      ชื่อ-สกุล ของเสปน ดูแล้วไม่คุ้นสำหรับคนไทย   ผมจะแยกชื่อเป็นสี่ส่วนดังนี้ครับ   ชื่อ  1 แรกจะเป็นชื่อที่พ่อแม่ตั้งให้ , 2 ชื่อที่สอง จะเป็นชื่อนักบุญต่าง ( ชื่อกลาง) 3 ชื่อที่สามจะเป็นชื่อ สกุลของพ่อ,  4 ชื่อที่สี่จะเป็นสกุลของแม่
      เช่น Jusefa Maria Torres Lopez  ก็จะแบ่งเป็นส่วนๆดังนี้    1Jusefa   2Maria  3Torres   4 Lopez หรือ
      Matilde Torres Martin ก็ชื่อ  Matilde ส่วนชื่อกลางยุคหลังๆ ถ้าไม่เคร่งศาสนา บางทีเขาก็ไม่ตั้งครับ
      ส่วนคำว่า de แปลว่า จาก,ของ ใส่ก่อนชื่อสกุล พ่อแม่ สังเกตว่าช่วงหลังก็ไม่เป็นที่นิยมแล้ว ในทางปฎิบัติแล้วก็จะใช้ชื่อแรก( ที่พ่อแม่ตั้ง )และชื่อสกุลของพ่อ เช่น Antonio Torres         สำหรับฝ่ายหญิงเมื่อแต่งงานแล้วไม่ต้องเปลี่ยนนามสกุลตามสามี และลูกก็ใช้นามสกุลร่วม ระหว่างพ่อและแม่ ครับ
      ถ้าใช้กฎอย่างนี้ เมื่อฝ่ายหญิงแต่งงานไปแล้ว ได้ลูกสาว สกุลของแม่ก็จะหายไป เมื่อถึงรุ่นหลานครับ
            
               ** ผมสงสัยส่วนตัวครับว่า  Fernando José Torres Sanz นักบอลชื่อดัง เป็นสายของ Torres หรือเปล่าเพราะตาม กฎ ตรงนี้ เป็นชื่อสกุลสืบจากฝ่ายพ่อนะครับ  **


      Fernando José Torres Sanz

      8.03.2554

      Labels of Torres Guitar

      ช่วงระยะเวลา ที่ทำกีตาร์ของ Torres แบ่งเป็นสองช่วงคือ 
      1858 Sevilla
      ระหว่างปี 1850-1869 หลังจากปี 1869 เขาก็ไม่ได้ทำกีตาร์อีก ( ช่วงภรรยาคนที่สอง โดย เปิดร้าน Chaina Shop แทน ) และกลับมาทำกีต้าร์อีกในปี 1880 และสร้างกีต้าร์อย่างต่อเนื่องจนเสียชีวิตในปี 1892 โดยกีต้าร์ไม่เคยติด Labels บนตัวของเขาเลย และมาติดหมายเลขภายหลังจากช่วงเวลานั้น เช่น  กีต้าร์ตัวแรก ของ  Tarrega ได้รับปี 1869 ( FE17 ), 1883 ( SE 49 ),1888 ( SE 114 )ตามลำดับ  โดย
      Labels Of Torres ( Almeria )

      •  EF หมายถึง First Fpoch หมายถึงกีต้าร์ที่สร้างขึ้นในช่างแรกๆของชีวิต อยู่ระหว่างปี 1850-1869 ในเมือง Sevilla
      • SE หมายถึง Second Epoch คือกีต้าร์ที่สร้างขึ้น หลังปี 1875ในเมือง Almeria 
       

      7.29.2554

      Torres..ปฐมบทแห่ง Modern Guitar Maker

      Don Antonio de Torres Jurado      ทอร์เรสเป็นช่างทำกีต้าร์ที่มีบทบาทของศตวรรษที่ 19 เกิดเมื่อ 13 June 1817 ที่ La Cañada de San Urbano จังหวัด Almeria  ของเปน  และเสียชีวิตในวันที่19  Nov 1892,  Torres เป็นบุตรของ Juan Torres ซึ่งทำงานเป็นผู้เก็บภาษีท้องถิ่นและ Maria Jurado

      Guitar of José Pernas 1843
       ในสายอาชึพเขาเริ่มเป็นช่างตั้งแต่อายุได้12 ปี  กล่าวกันว่าประมาณปี 1842 เขาทำงานและเรียนรู้กับช่างทำกีต้าร์ ( Guitar Maker )  José Pernas ( Granada 1830-1870 ) ในจังหวัด กรานาดา  รูปกีต้าร์ทางด้านซ้ายมือ( ปี1843 ) ก็จะเป็นช่วงที่ ทอร์เรสไปเรียนพอดี ดังนั้นกีต้าร์ในยุคนั้นๆหรือช่วงแรกที่ทอร์เรสเป็นคนสร้างเองน่าจะมีรูปแบบดังภาพ      อย่างไรก็ตามทอร์เรสเรียนรู้อย่างรวดเร็วและกลับไปเมืองเซบียา ( Seville )และเปิด Shop บนถนน Cerrageria หมายเลข 7  โดยร่วมกับ Manuel Soto y Solares แม้ว่าเขาได้ทำกีต้าร์ในช่วง 1840s  เป็นต้นมา แต่ก็ยังไม่มีชื่อเสียงและการยอมรับจนกระทั้งปี 1850sได้รับคำปรึกษาจาก Julián Arcas เป็นนักเล่นคอนเสิร์ตและนักประพันธ์ที่มีชื่อในในยุคนั้นหลังจากนั้น เขาจึงเริ่มเป็นมืออาชีพและสร้างกีต้าร์อย่างจริงจัง    Julián Arcas ซึ่งไม่พอใจระดับความดังและเสียงที่ได้ของกีต้าร์ในยุคนั้นได้ให้คำแนะนำในการสร้างและทำงานร่วมกันโดยให้ความสนใจด้านโครงสร้าง ตรงนี้ถือว่าเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างนักกีตาร์และช่างทำกีต้าร์ครั้งแรก และการพัฒนาครั้งนี้ถือว่าเป็น ปฐมบทแห่ง Modern Guitar Maker ทอร์เรสเปิดเผยว่า soundboard เป็นกุญแจสำคัญในการเพิ่มระดับเสียง เขาไม่ได้ทำให้ตัว(Body)ของกีต้าร์ใหญ่ขึ้นอย่างเดียวยังทำให้Soundboard มีน้ำหนักเบาขึ้นด้วย   

      Julián Arcas
      ในชิวิตของทอร์เรสมีเหตุการณ์สำคัญที่ควรบันทึกอีกหนึ่งเหตุการณ์คือการพบกันระหว่างTorres และ Tarregaประมาณปี 1869  ในฤดูใบไม้ร่วง  ช่วงนั้น  Tarregaอายุได้17 ปี โดยได้เดินทางจาก เมืองเซบีย่า (Seville ) ไปยังเมืองบาร์เซโลน่า ( Barcelona ) โดยเดินทางไปพร้อมกับ Antonio Canesa Mendayas ซึ่งเป็นผู้สนันสนุนTarrega โดยเขาได้รับแรงบันดาลใจจากเสียงกีต้าร์ของ Julian Arcas เพื่อที่จะซื้อกีตาร์  หลังจากTarregaได้เข้าไปชมกีต้าร์ที่ร้านแล้วดูท่า ทางTarregaไม่ได้สนใจกีต้าร์ราคาสูงในร้านเลย  ทอร์เรสจึงเสนอกีต้าร์รุ่นมาตรฐาน แต่หลังจากฟัง Tarrega เล่นได้ครู่เดียว  ทอร์เรส บอกกับ Tarrega ว่า " เดี๋ยวก่อนนี้ไม่ใช้กีต้าร์สำหรับคุณ " หลังจากนั้นเดินไปหลังร้านแล้วหยิบกีต้าร์ ที่ทำไว้สำหรับตัวเอง นำกีต้าร์มาให้ Tarrega แล้วกล่าวว่า นี่ซิกีต้าร์ เป็นกีต้าร์ที่คู่ควรกับคุณ กีต้าร์ตัวนี้ถือเป็นกีต้าร์ของ ทอร์เรส ตัวแรกที่ Tarrega ใช้เพื่อเล่น คอนเสริร์ต

      ปี 1870 เขาได้ปิด Shop ใน เซบีย่า และ ย้ายกลับไป Almería ซึ่งเขาและภรรยา( คนสุดท้าย )ได้เปิดร้านขายสินค้าของจีน และ ร้านขาย คริสตัล บนถนน Real  หลังจากนั้นอีก 5 ปี เขาถึงเริ่มทำกีต้าร์ใหม่ถือเป็นยุคที่สอง โดยทำเป็น part-timeหลังจากว่างจากร้าน Chaina  Shop
             
      หลังจากภรรยาของเขาเสียชีวิต ( Josefa ) ในปี 1883  เขาได้เพิ่มเวลาในการทำกีต้าร์มากขึ้นโดยทำได้ปีละ 12 ตัว จนกระทั่งเสียชีวิตเมื่ออายุได้ 75 ปี ที่ La Cañada de San Urbano, Almería

      คาดว่ากีต้าร์ที่เขาสร้างขึ้นมาทั้งหมดมีประมาณ 320 ตัว  ในปัจจุบันเหลืออยู่ 90 ตัว กระจายไปยังที่ต่าง 

      ชีวิตครอบครัว      เขาได้แต่งงานกับ Juana María López ซึ่งภรรยามีอายุเพียง 13 ปี มีบุตรคนแรกในปี 1836 ,1839,คนสุดท้าย 1842 ซึ่งเสียชีวิตภายในเวลาไม่กี่เดือน ลูกสาวคนที่สองเสียชีวิตในปี 1845 ส่วนภรรยาได้เป็นวัณโรคและเสียชีวิตขนะที่อายุได้23ปี เป็นช่วงปีที่ยากสำหรับเขา เนื่องจากการจากไปของคนในครอบครัวอย่างต่อเนื่องและการมีหนี้สิน ทำให้เขาต้องมองหางานลักษณะเป็นลูกจ้างมากขึ้น
      ในปี 1868 เขาได้แต่งงานเป็นครั้งที่สองกับJosefa Martín Rosada    ภรรยาคนที่สองเสียชีวิตในปี 1883 ชีวิตครอบครัวซึ่งดูแล้วไม่ค่อยดีนัก  แต่การทำคลาสสิกกีต้าร์จนสืบทอดมาถึงปัจจุบัน ต้องยอมรับว่าเป็นมรดกทางด้านนวัตกรรมที่เขามอบให้ ทั้งนักดนตรีและนักทำกีต้าร์โดยตรง

      7.18.2554

      Francisco Tárrega -Father Of The Modern Classical Guitar


      Francisco Tárrega (ฟรานซิสโก ทาร์เรก้า) ชาวสเปน  เกิดเมื่อ 21 Nov 1852 ที่ Villareal และเสียชีวิต ที่ Barcelona ( จ.บาร์เซโลนา สเปน) เมื่อวันที่  5 Dec 1909    Tárrega มีชีวิตอยู่รวม อายุ 57 ปีช่วงที่เขามีชีวิตอยู่เป็นยุคดนตรีที่เรียกว่า ยุคโรแมนติก ( Romantic Era )          ในสเปนตรงกับ ยุคการปกครองของ พระนางเจ้าอิซาเบลที่ 2 ( Isabella II of Spain ) แห่ง ราชวงศ์ บูร์บง (ฟื้นฟูครั้งแรก ) จนถึง พระเจ้าอัลฟอนโซ ที่ 13 ( Alfonso XIII of Spain ) แห่งราชวงศ์  บูร์บง ( ฟื้นฟูครั้งที่สองหลังจากผ่าน การปกครองของราชวงศ์ ซาวอย ) ถือว่าเป็นนักดนตรีที่ผ่านมา 4 ยุคการปกครองของสเปนเทียบกับของไทยจะเป็น ช่วง ต้นๆ สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปจนถึง ช่วงปลายๆ สมเด็จพระปิยะมหาราช เรียกได้ว่าในยุคนี้เกิดการเปลี่ยนแปลง ขึ้นหลายๆอย่างไม่ว่าจะเป็นการเมืองการปกครองหรือเทคโนโลยีทั้งในไทยเองและต่างประเทศ      ในเรื่อง Guitar Tárrega ก็ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายๆอย่าง บางคนเรียกว่าเป็นการปฎิวัติเลยทีเดียว




      ตามประวัติแล้วพ่อของเขาก็เล่นกีต้าร์เหมือนกัน แต่ไม่ได้เล่นเป็นอาชีพ( เล่นในรูปแบบ Flamenco และเพลงทั่วๆไป )  พ่อของเขามีอาชีพเป็นยามที่ Convent of San Pascual ช่วงที่พ่อออกไปทำงาน
      Tárrega  มักจะหยิบ Guitar ของพ่อเขามาเล่นเสมอ  ตอนเด็กๆTárrega เป็นคนไม่ค่อยพูดค่อยเจรจาจนมีnicknameว่า Quiquet ( silent )
      Castellón
      ในช่วงอายุได้ 8 ขวบเขาได้เริ่มต้นเรียน Guitar กับครูในท้องถิ่นชื่อ Manuel González   และ  Eugeni Ruiz   
      ในปี 1862 เมื่อTárrega อายุได้ 10 ขวบพ่อได้พาไปพบกับได้พบกับJulián Arcas ซึ่งเป็นนักประพันธ์และเล่นคอนเสิร์ตที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น ที่ Castellón หลังจากจบการแสดงของ Arcas แล้ว Tárregaได้ลองเล่น guitarให้ฟัง  Julián Arcas เห็นแววอัจฉริยะของ Tárrega จึงขอให้ Tárrega ไปศึกษาดนตรีกับเขาที่ Barcelona พ่อของTárrega สนับสุนเรื่องการศึกษาของลูกในเส้นทางนี้อยู่แล้วจึงยอมอนุญาตแต่มีข้อแม้ขอให้ลูกเขา ได้ศึกษา Pianoตามสมัยนิยมไปด้วย   อย่างไรก็ตาม Tárrega ได้ศึกษากับ Julián Arcas ในช่วงระยะเวลาสั้นๆเท่านั้นหลังจากนั้น Julián Arcas ทัวร์คอนเสิร์ตในประเทศต่างๆ  
      มรดกทางบทเพลงผมยังไม่เห็นอิทธิพลของ Julián Arcas ต่อการประพันธ์ของ Tárrega แต่กลับพบว่า การที่ Tárrega  สนใจและพัฒนารูปทรงของกีต้าร์ ของ ทอร์เรส ( Torres ) จนเป็นรูปทรงที่ใช้กันในปัจจุบันนี้( ทอร์เรส ...นักทำกีต้าร์คลาสลิกชาวสเปน ที่มีอิทธิพลที่สุดต่อช่างทำกีต้าร์ทั่วโลกในปัจจุปัน)  ก็คงยกเครดิตให้ Julián Arcas      ในเดือน ตุลาคม 1874  Tárrega ได้เรียนต่อ ด้าน Harmonry ( เรียบเรียงเสียงประสาน) และ Composition ( การประพันธ์บทเพลง ) ที่ Madrid Conservatory of Music  ในปี 1975 เขาได้รับรางวัลชนะเลิศด้าน Composition นั้นเป็นรากฐานที่ทำให้ผลงานการประพันธ์เขา ถือว่าอยู่ในชั้นครู

      Tárregaเริ่มเส้นทางสายนักดนตรีอาชีพเมื่ออายุได้ 10 ขวบเท่านั้นโดย เล่นตามcoffee houses หรือตามภัตตาคาร ใน Barcelona  ช่วงเริ่มของการแสดงดนดนตรี Tárrega ได้แบ่ง แสดงเปียโนครึ่งหนึ่งและกีต้าร์ครึ่งหนึ่ง ที่เป็นอย่างนี้ต้องเข้าใจว่าในสมัยนั้นกีต้าร์ก็ไม่ได้รับความนิยม เท่ากับเครื่องดนตรีชนิดอื่นเช่นเปียโน หรือไวโอลินการแสดงกีต้าร์เพียงอย่างเดียวอาจไม่ค่อยได้รับความสนใจ ซึ่งมีผลถึงปากท้องได้ เรียกได้ว่าครึ่งหนึ่งเป็นธุรกิจอีกครึ่งหนึ่งเป็นความชอบส่วนตัว หรืออาจเป็นกลยุทย์ในการแสดงก็ได้ ซึ่งช่วงหลังTárrega มีชื่อเสียงแล้วก็เล่นแต่เพียงกีต้าร์อย่างเดียวแต่ไม่ว่าเหตุผลอะไรก็ตามที่เขาเลือกเล่นกีต้าร์แต่เพียงอย่างเดียวผมถือว่าเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องเพราะโอกาสเล่นเปียโนจนมีชื่อเสียงเทียบชั้น Beethoven หรือ Chopin ในยุคนั้นโอกาสแทบเป็นไม่ได้เลย หลังจากสร้างชื่อเสียงจนเป็นเป็นที่ยอมรับทั้งบทเพลงและเครื่องมือที่ใช้แสดงแล้ว ( Guitar )   Tárrega ก็ได้เดินทางแสดงดนตรีในต่างประเทศเหลายๆ ประเทศ เช่นลอนดอนในปี 1880 และ ฝรั่งเศษ ( ปารีส, แปร์ปิยอง ( Pergnan ),นี ( Nice )  Lyon 1881  )

       left to right- Andres Segovia,Miguel Liobet,Daniel Fontea,Emillio Pujol,1981
      บทบาทการเป็นครู  Tárrega ได้เป็น Professor of Guitar ที่ Conservatories of Madrid และ Barcelona นอกจากนั้นยังได้ประพันธ์บทเพลงและแบบฝึกหัด( Study )หรือ วีธการเล่น (Methods )มากมายที่ยังใช้กันจนถึงปัจจุบันรวมถึง ผลิตบุคลากร / ลูกศิษย์ มากมาย เช่น Pasual Roch,Garia Fortea,Danic Forte,Josefina Robledo,Alberto Obregonโดยเฉพาะ Miguel Llobet และ Emilio Pujol ซึ่งต่อมาได้ ประพันธ์และสอนดนตรี จนมีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก

      สำหรับผลงานของ Tárrega ผมแบ่งเป็นสองประเภทคือ
      1. Original Composed and Studies
      2. Transciption for Guitar

      สำหรับนักดนตรีที่มีอิทธิพลต่อTárrega ผมคิดว่านักกีต้าร์มีอิิทธิพลน้อยกว่านักดนตรีที่เล่นเปียโน เช่น JS.Bach,Mozart,Beethoven,Berlizo,Chopin,Grieq,Handel,Haydn,Schubert,Scumann,Wagner,Albeniz คาดกันว่า Tárrega มีผลงานด้านTransciption ถึง 120ชิ้น มากกว่าผลงานที่ประพันธ์ เอง ( คาดว่า 78 ชิ้น ) 
        บทเพลงที่ผมนำมาเป็นตัวอย่าง เป็น Original Work ชื่อเพลง Vals en D ( Waltz in D Major  )  ถึงแม้เป็นเพลงสำหรับ Guitar Classical แต่ผมลองนำมาเล่นบนกีต้าร์ไฟฟ้า ผมคิดว่า Sound ยังร่วมสมัยนะ




        Pablo Sarasate
        อย่าลืมนะครับว่าGuitar ในศตวรรษที่ 19 เสื่อมความนิยมลงไปมาก เห็นได้จากประวัติของ Tárrega เองถึงแม้พ่อจะสนับสนุนลูกในการเล่นดนตรียังขอให้ลูกฝึกPiano ไปด้วยเลย หรือ ตัวของ Tárrega เองที่ถูกเรียกว่า Sarasate of Guitar ( ซาราซาเต (Sarasate )เป็นนักประพันธ์ และนักเล่น ไวโอลิน ชาวสเปนเกิดในยุคเดียวกันมีชื่อเสียง และเป็นที่โปรดปรานของ อิสเบลที่สอง แห่งเป็นอย่างมาก ) มีเกร็ดเล่าในฟังว่า ซาราซาเต  (Pablo Sarasate )เคยเล่นคอนเสิร์ต สถานที่เดียวกับ Tárrega ( Sarasateเล่นก่อน 1 วัน ) Sarasate ยังไม่สนใจด้วยซ้ำไป  




        Correct Posture
        ผมอยากให้ดูท่านั่งเล่นกีต้าร์ดังรูปที่อยู่ด้านขวามือครับ เป็นท่านั่งเล่นกีต้าร์ที่ถูกต้อง ทั้งมุม ของมือซ้ายและมือขวา รูปมือสวยงามมากครับ ทราบไหมครับท่านั่งเล่น Guitar Classical ที่ใช้เล่นทั่วโลกอยู่ในขณะนี้ ได้พัฒนามาจาก Tárrega เช่นกัน     สำหรับFootstool ก่อนหน้านี้มีนักกีต้าร์คลาสสิคใช้กันอยู่แล้วโดยใช้เท้าขวาวางแต่   Tárregaเปลี่ยนมาเป็นเท้าซ้าย  ทุกอย่างมีเหตุผลหมดนะครับมีโอกาสผมจะเขียน ในครั้งหน้าครับ

        Tárrega เป็นบุคคลที่มีความสำคัญมากในวงการกีต้าร์คลาสสิค Barrios กล่าวไว้ว่า “Without Tárrega, we would not be”

        Tárrega ถูกเรียกว่า  Founder Of The Modern Guitar School แต่ ท้ายที่สุดแล้ว นักกีต้าร์ คลาสสิกทั่วโลกได้ยอมรับว่าเขาเป็น "Father Of The Modern Classical Guitar "ซึ่งเป็นการยอมรับตรงกันทั่วโลกซึ่งดูยิ่งใหญ่มาก



        สำหรับผลงานที่เป็น อัลบั้มแนะนำ เป็นของ David Russell ชุด Integral Guitarra  1ชุดมี 2 แผ่น เป็นการรวมบทเพลงของ Tárrega 62 เพลง

        David Russell,1995