เล่มที่ 1 ของเดือน Apr-May 2003 Issue 3 Vol 1 ปกเป็นรูป Lorin Maazel , Cover Story จะเป็นเรื่อง Broadway Home Of The Musical
ยกตัวอย่างอย่างบทความที่ผมชอบในเล่มนี้เช่น เรื่อง Canada 'S Tragic Genius พูดถึงนักเปียโนอัจฉริยะ ที่ชื่อ Glenn Gould บทความอ้างว่า "ผลงานดนตรีที่สามารถจะบดบังรัศมี แม้แต่ J.S Bach ได้ " แสดงว่า ขั้นอัจฉริยะทางดนตรีจริงๆ ส่วนมุมมองของเขาต่อนักดนตรี แนว คลาสสิคในตำนาน ก็น่าสนใจไม่น้อย เช่น
Chopin : เขาไม่ชอบโชแปงเพราะ โชแปงนั้นเขียนแต่เพลงสั้นๆและไม่รู้จักพัฒนาความคิดของตัวเอง และสีสันของ โชแปงขึ้นอยู่กับ pedalเท่านั้น
Schumann : ชูมันน์ ที่จริงเป็นคนที่ไม่มีความสามารถในการเล่นเปียโน คงต้องยกนิ้วให้กับภรรยาที่แสนเก่งของเขา เป็นเพราะว่าเธอยอมเล่นเพลงอันน่าเบื่อหน่ายของเขา ไม่เช่นนั้นเราคงจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ชูมันน์ มีตัวตน
Beethoven Piano Sonata : Sonata สามชิ้นสุดท้ายถึงแม้จะสั้นแต่ก็มีตวามสวยงามเสมือนจุดที่ต้องหยุดชมวิวของนักเดินทาง......
เบโทเฟน นั้นได้ถูกครอบงำโดยเรื่องเหลวไหล และความขัดแย้งยิ่งกว่าหนังสือนิยายใดๆ
Mozart : ที่จริงแล้วผมสนุกทุกครั้งที่ได้เล่น โซนาตา ของ โมสาร์ท ผมมีความเพลินเพลินกับการที่นิ้วมือได้วิ่งขึ้นวิ่งลง ตามคีย์ของเปียโน โดยที่scales และ arpeggios ต่างๆได้ถูกใช้อย่างเป็นประโยชน์ที่สุด
Richard Strauss : ในความขัดแย้งของสังคมและความสวยงามของศีลธรรมของวันนี้ เขาเป็นบุุคคลที่มีความสำคัญยิ่งนัก- ความสบสนที่ไมาสามารถจะแก้ไขได้นั้นได้ผุดขึ้นมาเมื่อเราพยายามที่จะกักกันคามกดดันของโชคชะตาอันสวบงามที่ถูกกำหนดขึ้นด้วยตัวของเราเอง โดยไม่มีผลบวกโดยรวมแต่อย่างไร Strauss นั้นสามารถที่จะผลิตความรู้สึกที่มีกำลังเป็นอย่างยิ่งโดยใช้วิธีที่เรียบง่าย และบางทีก็โกหกกันแบบดื้อๆ
Barbra Streisand : นอกจาก Elisabeth Schwarzkopf แล้ว บาร์บรา สไตรแซนด์ เป็นอัจฉริยะแห่งเสียงที่ผมเคยได้ยินมา
ผลงานแผ่นเสียงชุดแรกกับค่าย Columbia Records ชื่อชุด Bach : The Goldberg Variation " เป็นบทเพลงซึ่งไม่ให้ความสำคัญกับจุดเริ่มต้นหรือจุดจบของเพลง ในตัวบทเพลงไม่มีจุดสูงสุดหรือจุดสรุป "
นักกวีชาวฝรั่งเศส Baudlaire กล่าวไว้ว่า " เสมอเหมือนวางอยู่อย่างแผ่วเบาบนปีกของลมที่พัดมาโดยไม่ได้ตั้งใจ "
Bach : The Goldberg Variation |
เล่มเล่มที่สองตามรูปด้านล่างนี้ ป็นฉบับ Dec03-Jan 04และเป็นฉบัับครบรอบ 1 ปี เเรื่องที่ผมชอบคือ เยี่อมบ้าน อาจารย์ ปิยะพันธ์ สนิทวงศ์ ซึ่งเป็นศิลปินแห่งชาติสาขาการแสดงดนตรีสากล 2541
บทความเรื่อง Canada 'S Tragic Genius ผมคัดลอกบางส่วนมาจากหนังสือเลย เพราะคิดว่าหนังสือ / วารสาร ได้เลิกผลิตไปแล้ว และบทความเป็นประโยชน์ และน่าสนใจจริงๆ น่าจะได้รับการเผยแพร่ต่อไป ถ้ายังมีลิขสิทธิ์โปรดแจ้ง มายังผมได้ครับ
น่าเสียดายครับ น่าจะมีนิตยสารดนตรีแนวนี้ออกมาเยอะๆหน่อย ปัจจุบันผมเข้าใจว่า นิตยสารแนวดนตรีคลาสสิคตะวันตกในเมืองไทยน่าจะไม่มีเลยนะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น