หน้าเว็บ

www.mi-favorita.blogspot.com

www.mi-favorita.blogspot.com

2.15.2555

HAPPY BIRTHDAY กับ ลิขสิทธิ์

 สุดท้ายของ เพลง happy Birthday  ถ้าไม่เขียนเรื่องลิขสิทธิ์ คงไม่สมบูรณ์แน่ ก็เริ่มดังนี้                          
ปี 1924 โรเบิร์ตโคลแมน ( Robert Coleman ) ได้รวมเพลง Good Morning To All กับ happy Birthday เข้าไปในหนังสือเพลง  และยังเผยแพร่เพลง Happy Birthday ในหนังสือ American Hymnal ในปี 1933

ในปี 1935 เพลง  Happy Birthday ได้ถูกจดลิขสิทธิ์โดย เพรสตัน แวร์โอเรม ( Preston Ware Orem ) ในนามบริษัท Summy  
ปี1990 Warner/ Chappell Music ได้ซื้อ บริษัท Summy ในราคา 15 $ ล้าน โดยเพลง Happy Birthday มีมูลค่า ประมาณ 5 $ ล้าน 



ต่อมาบริษัทใหม่ชื่อ Birch Tree Group Limited  ได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อ ป้องกันและบังคับใช้ลิขสิทธิ์เพลง
และในปี 1998 ถูกขายให้กับ Time - Warner Corporation 


ในเดือนมีนาคมปี 2004, Warner Music Group ถูกขายให้กับกลุ่มของนักลงทุน ที่นำโดย Edgar Bronfman Jr. นักธุรกิจชาวอเมริกันปัจจุบัน เป็น CEO ไปเรียบร้อยแล้ว    บริษัทยืนยันว่าสามารถนำเพลงนี้ไปร้องในลักษณะ ทางการค้าได้ แต่มีข้อแม้นว่าจ่ายค่า royalties ก่อนก็แค่นั้นเอง
 
Edgar Bronfman, Jr
ในปี 2008  Warner ได้เก็บค่า ลิขสิทธิ์ คิดเป็นเงิน 5,000$ ต่อวันหรือ 2ล้าน us ต่อปี ในเดือน ก.พ 2010 ค่า  Royalties ราวๆ 700 $   โดยผมพอสรุปได้ว่า ถ้าใครเปิดเพลงนี้ในที่สาธารณะ ไม่ว่าวิทยุ ร้านอาหารโดนทั้งนั้น ดีนะถ้าครอบคลุมถึง การร้อง ส่วนตัว ในงานวันเกิดละก้อ มีสิทธิ์ สูญหายไปจากโลกนี้แน่  

เพลงนี้ได้ถูกจดลิขสิทธิ์เมื่อปี 1935 ดังนั้นตามกฎหมายลิขสิทธิ์ของสหรัฐ เพลงนี้จะเป็นของสาธารณะได้ก็ในปี 2030 ( มีอายุ 95 ปี )  เรื่องกฎหมายที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ เช่นใน สหภาพยุโรป ( EU ) ลิขสิทธิ์จะมีอายุเท่ากับอายุของผู้เขียนและบวกเพิ่มไปอีก 70 ปี ซึ่งเท่ากับลิขสิทธิ์นี้จะเป็นของสาธาณะได้ใน 31 ธันวาคม 2016  ก็สรุปว่า เพื่อนๆนักดนตรีได้อ่านบทความนี้แล้ว อย่าเผลอนำไปใส่ใน อัลบัมของตัวเองนะครับ ( ถ้าอยู่ในค่ายเพลง ไม่น่าเป็นห่วงเพราะค่ายเพลงจะรู้อยู่แล้ว แต่ที่เป็นห่วงคือ เดี๋ยวนี้ เทคโนโลยี ถูกลง ศิลปินสามารถทำงานเพลงเอง ขายเองได้แล้ว ) 
ส่วนในของเมืองไทยเอง ผมนึกถึง ค่าย แกรมมี่ และ RS ประมาณสักเกือบ 10 ปี ที่ ธุรกิจตู้คาราโอเกะเริ่มปูมในเมืองไทย   ค่ายแกรมมี่ก็เริ่มนำระบบเก็บค่าลิขสิทธิ์ เพลงจาก ตู้คาราโอเกะ เป็นรายเดือน มาใช้  ส่วนค่ายเริ่มตามมาเก็บอ้างนำไปให้ครูเพลง ไม่ทราบถึงครูบ้างหรือเปล่า     ก็มีผู้ประกอบการ หลายราย   เริ่มล้มลงมา,บางรายที่ทำเป็นอาชีพหลักของครอบครัว ก็แย่หน่อย   สมัยก่อนเขาลงทุน ค่าตู้ ราคา 80,000 บาท ซื้อ แผ่นแท้ มาเปิด  แล้วแบ่งกับเจ้าของร้านอีก 30 % ไหนจะค่าตำรวจ อีกสารพัด 
 
From the Album  Kidz Town Kids

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น